DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/508

Title: แผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาร้าผงตรา ภา-ทอง
Authors: สรัญญา โรมรัตนพันธ์
Keywords: การวางแผนธุรกิจ
การวางแผนเชิงกลยุทธ์
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: โรงงานปลาร้าโกสุมฟาร์ม จังหวัดมหาสารคาม เริ่มก่อตั้งกิจการเมื่อปี พ.ศ.2545 โดย นายทองสา แสงลี และนางนิภา แสงลี มีแนวคิดที่ผลิตปลาร้าออกจำหน่ายซึ่งผู้ประกอบการ เล็งเห็นว่าความต้องการบริโภคปลาร้ามีมากขึ้น อีกทั้งปลาร้าก็นับเป็นส่วนประกอบหลักของ อาหารอีสานที่คนส่วนใหญ่ในเขตภาคอีสานนั้นนิยมรับประทานโดยเริ่มแรกมีการจำหน่ายเพียงแค่ ในบริเวณจังหวัดมหาสารคามเท่านั้น ต่อมาได้มีการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายโดยการฝากขาย ที่ตลาดไทและสินค้าก็เริ่มเป็นที่รู้จักของตลาดมากขึ้น จากนั้นผู้ประกอบการได้จดทะเบียนโรงงาน อุตสาหกรรม เลขที่ จ3-6(5)-3/47 มค. ในปี พ.ศ.2547 และในปัจจุบันโรงงานได้ทำการเพิ่ม ผลิตภัณฑ์ปลาร้าให้มีความหลากหลาย ได้แก่ น้ำปลาร้าต้มสุกบรรจุขวดใส ปลาร้าผงเข้มข้น แจ่ว ปลาร้า และปลาร้าผงสมุนไพร ซึ่งกำลังพัฒนาและขยายตลาดให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ในปัจจุบันสินค้าที่ได้รับความนิยมของตลาดคือ ผลิตภัณฑ์ปลาร้าผง ภายใต้ชื่อ ปลาร้าผง ภา-ทอง และเนื่องจากผู้ประกอบการต้องการขยายฐานลูกค้าและต้องการขยายตลาดของสินค้าปลา ร้าผงตรา ภา-ทองให้เป็นที่รู้จักของตลาดในวงกว้าง แต่ปัญหาของผลิตภัณฑ์ปลาร้าผงคือปัญหา รูปแบบบรรจุภัณฑ์ยังคงเป็นรูปแบบของอุตสาหกรรมในครัวเรือน ยังไม่มีความสวยงามและขาด ความน่าเชื่อถือ ผู้ประกอบการจึงมีแนวความคิดในการปรับปรุงรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ให้มีความ สวยงามและสามารถเข้าตลาดในวงกว้าง จึงจำเป็นต้องทำการเก็บข้อมูลและสำรวจพฤติกรรม ความต้องการของผู้บริโภคทั่วไปและกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ตรงกับความ ต้องการของผู้บริโภค สำหรับวิธีการเก็บข้อมูลต่างๆ มีทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยการเก็บ ข้อมูลแบบปฐมภูมิ มีการจัดทำแบสอบถามขึ้น เพื่อทราบถึงพฤติกรรมและทัศนคติของกลุ่ม ลูกค้าเป้าหมาย และข้อมูลทุติยภูมิ บทความทางวิชาการ เป็นต้น ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิ วิเคราะห์ผ่านการสนทนากลุ่ม (Focus group) และข้อมูลทุติยภูมิทำการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือ ดังต่อไปนี้ 1. การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันโดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT) 2. การวิเคราะห์สังคมสภาพแวดล้อม โดยการวิเคราะห์ PEST Analysis 3 .การวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน โดยใช้หลักการ Five Forces Model หลังจากทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆแล้วจะช่วยให้ผู้ประกอบการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ของปลาร้าผงให้ได้ตามความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคและตลาดโดยรวม อีกทั้ง แผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาร้าผงตราภาทอง ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในการนำ ข้อมูลในด้านต่างๆที่ได้ ไปปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์ของธุรกิจเพื่อทำการขยายธุรกิจ ให้สามารถเข้าสู่ตลาดในวงกว้างได้ต่อไปและผลิตภัณฑ์ใหม่สามารถนำไปสู่เชิงพาณิชย์ คาดว่าจะ ทำให้ยอดขายเติบโตปีละประมาณ 15%
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2553
Subjects: การวางแผนธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การวางแผนเชิงกลยุทธ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/508
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
sarunya_Romr.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback