DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4922

Title: การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจออกมาเลือกตั้งของผู้มีสิทธิ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Exposure of political news influencing voting decision of voters in Bangkok
Authors: พัชรภรณ์ เมธาจีรเวช
Keywords: การเปิดรับข่าวสารทางการเมือง
การตัดสินใจเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองของผู้มีสิทธิในเขต กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจออกมาเลือกตั้งของผู้มีสิทธิในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองมีผลต่อการตัดสินใจออกมาเลือกตั้งของผู้มีสิทธิในเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่ จำนวน 129 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) ผลการวิจัย พบว่า การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองมีผลต่อการตัดสินใจออกมาเลือกตั้งด้านการเปิดรับข่าวสาร การเลือกให้ความสนใจ การเลือกรับรู้และตีความหมาย ซึ่งการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองในแต่ละด้านเป็นแรงขับเคลื่อนที่ส่งผลให้ประชาชนตัดสินใจออกมาเลือกตั้ง โดย 1) ด้านการเลือกเปิดรับข่าวสารส่วนใหญ่เปิดรับข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อโซเชียลมีเดียมากที่สุด เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและได้รับข้อมูลเร็วที่สุด 2) ด้านการเลือกให้ความสนใจข่าวสารทางการเมือง ให้ความสำคัญกับข่าวสารเกี่ยวกับ วิธีการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง นโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ และการชักชวนออกไปเลือกตั้งอันเนื่องมาจากเป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตและขั้นตอนในการเลือกตั้งอันเป็นพื้นฐานในการใช้สิทธิการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย 3) ด้านการเลือกรับรู้และการตีความหมายในข่าวสาร ถ้าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งรับสารข้อมูลที่แปลกใหม่และเนื้อหามีความซับซ้อน อาจจะตีความผิดพลาดและทำให้การตัดสินใจออกไปเลือกตั้งน้อยลงได้ ในทางกลับกันการสื่อสารทางการเมือง ถ้าให้ข้อมูลที่เข้าใจง่ายเข้าถึงได้และมีความสอดคล้องกับความเชื่อและทัศนคติเดิมของถ้าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะทำให้ตีความได้ตรงหรือใกล้เคียง และลดข้อผิดพลาดของความเข้าใจผิดในข้อมูลได้ 4) ด้านการเลือกจดจำ ข่าวสารเกี่ยวกับข้อห้ามก่อนไปเลือกตั้ง ซึ่งอาจเคยมีประสบการณ์ความผิดพลาดในด้านการเลือกตั้งและส่งผลกระทบต่อตนเองในระยะยาว รวมไปถึงเมื่อใกล้วันเลือกตั้งสื่อมวลชนต่าง ๆ มักจะนำเสนอเน้นย้ำข้อห้ามจึงทำให้ผู้รับสารจดจำได้มากยิ่งขึ้นไปอีก
The objectives of this study are 1) To study political media exposure of voter in Bangkok 2) To study voter decision making to vote in Bangkok3) To study political media exposure effect on voter decision making to vote in Bangkok. The samples of this study were one hundred and twenty nine. Questionnaires were distributed to collect the data. All the data were analyzed by using Pearson coefficient correlation. The results show that the relationship between political media exposure and voters decision making to vote was statistically significant at 0.01 level. In terms of selective exposure: the respondents exposed to political news through social media. Because it is a source of information that is easily accessible and fastest receives information. 2) Selective Attention: focus on the message of how to vote, the policies of political parties, and the solicitation of elections due to information that affects livelihood and procedures of elections which is the basis for exercise of democratic elections. 3) Selective Perception and Interpretation: if voters receive unconventional information and content is complicated, they may misinterpret and make fewer decision to vote. Political communication, on the other hand, if the information is easy to understand, accessible and consistent with the original beliefs and attitudes of the electorate. It will make a direct interpretation and reduce the error of misunderstanding of data. 4) Selective Retention: the respondents concerns to the message of election prohibition. They may have experienced electoral errors which impact their long-term consequences. On the election day, the media often emphasize the prohibition, thus making the prohibition even more memorable for the voters.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2563
Subjects: พฤติกรรมการเลือกตั้ง -- ไทย -- วิจัย
ประชาธิปไตย -- ไทย -- วิจัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- การเลือกตั้ง -- วิจัย
การสื่อสารทางการเมือง -- ไทย -- วิจัย
การเลือกตั้ง -- ไทย
Advisor(s): พรพรหม ชมงาม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4922
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
patcharaporn_meat.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback