DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/481

Title: พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของนักศึกษาปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรภาษาไทย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Authors: วธูสิริ มากแสง
Keywords: พฤติกรรมข่าวสาร
นักศึกษาปริญญาโท
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชนของ นักศึกษาปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรภาษาไทยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 286 คน ปรากฏว่าสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้กลับมาจำนวน 286 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 จากนั้นได้ นำแบบสอบถามดังกล่าวมาลงรหัส ป้อนข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานใช้ค่าสถิติแบบ Chi–square tests โดยกำหนดค่า นัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 สำหรับผลการวิจัยผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจหลักสูตรภาษาไทย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 21-24 ปี ส่วนใหญ่อยู่ชั้นปีที่2 พักอาศัยอยู่บ้านบิดา มารดา ประกอบ อาชีพนักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท นักศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจ หลักสูตรภาษาไทยส่วนใหญ่รับสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด สำหรับความสะดวกในการเข้าถึงสื่อ เนื่องจากมีเครื่องรับ ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจหลักสูตรภาษาไทย เปิดรับสื่อมากที่สุด โทรทัศน์พบว่า นักศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจหลักสูตรภาษาไทย ส่วนใหญ่รับชม โทรทัศน์เป็นประจำทุกวัน ในช่วงเวลา 21.00-24.00 น. โดยใช้เวลาในการรับชมประมาณ 1-2 ชั่วโมง สำหรับช่องสถานีที่รับชมมากที่สุด คือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และประเภทรายการโทรทัศน์ ที่รับชมมากที่สุด ได้แก่ รายการข่าวประจำวัน วิทยุพบว่า นักศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจหลักสูตรภาษาไทย ส่วนใหญ่รับฟังวิทยุเป็น ประจำทุกวัน ในช่วงเวลา 06.00-09.00 น. โดยใช้เวลาในการรับฟังประมาณ 1-2 ชั่วโมง สำหรับ คลื่นวิทยุที่รับฟังมากที่สุด ได้แก่ คลื่น 106.5 Green Wave และประเภทรายการวิทยุที่รับฟังมาก ที่สุด ได้แก่ รายการเพลง หนังสื่อพิมพ์พบว่า นักศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจหลักสูตรภาษาไทย ส่วนใหญ่อ่าน หนังสือพิมพ์เป็นประจำทุกวัน ในช่วงเวลา 06.00-09.00 น. โดยใช้เวลาในการอ่านน้อยกว่า 1 ชั่วโมง สำหรับประเภทหนังสือพิมพ์ที่ชอบอ่านมากที่สุด ถึง 100 เปอร์เซ็น คือ หนังสือพิมพ์ ภาษาไทย มีเพียงร้อยละ 26.67 ที่อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษด้วย ส่วนหนังสือพิมพ์ภาษาไทยที่ อ่านมากที่สุด คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ส่วนหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่อ่านมากที่สุด คือ หนังสือ พิพม์บางกอกโพสต์ และประเภทคอลัมน์หนังสือพิมพ์ที่อ่านมากที่สุด ได้แก่ การพาดหัวข่าว นิตยสาร พบว่า นักศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจหลักสูตรภาษาไทย ส่วนใหญ่อ่าน นิตยสารสัปดาห์ละครั้ง ในช่วงเวลา 18.00-21.00 น. โดยใช้เวลาในการอ่านน้อยกว่า 1 ชั่วโมง สำหรับรายชื่อนิตยสารที่ชอบอ่านมากที่สุด ได้แก่ นิตยสาร CLEO และประเภทนิตยสารที่อ่านมาก ที่สุด ได้แก่ แฟชั่น/การแต่งกาย อินเทอร์เน็ต พบว่า นักศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจหลักสูตรภาษาไทยใช้อินเทอร์เน็ต เป็นประจำทุกวัน ในช่วงเวลา 21.00-24.00 น. โดยมีระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต 5 ปีขึ้นไป และ ส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 4 ชั่วโมง สำหรับเว็บไซต์ที่ใช้บ่อยมากที่สุด ได้แก่Hotmail และ Google และเหตุผลในการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุด เพื่อค้นหา ติดตามข้อมูลข่าวสาร เหตุผลในการเปิดรับสื่อ พบว่า นักศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจหลักสูตรภาษาไทย มี เหตุผลในการเปิดรับสื่อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า นักศึกษามี เหตุผลในการเปิดรับสื่อเพื่อให้ได้ข้อมูลที่อยากรู้อยู่ในอันดับแรก เพื่อแสวงหาข้อมูลข่าวสาร อยู่ใน อันดับรองลงมา เพื่อความเพลิดเพลินและผ่อนคลายความเครียด อยู่ในอันดับรองลงมาอีก ส่วน เหตุผลที่เปิดรับสื่อเพื่อเป็นที่ยอมรับและเป็นคนทันสมัย มีเหตุผลอยู่ในอันดับท้ายสุด
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: พฤติกรรมข่าวสาร--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
พฤติกรรมข่าวสาร--วิจัย
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--วิจัย
พฤติกรรมผู้บริโภค--วิจัย
Advisor(s): สุรเสกข์ พงษ์หาญยุทธ
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/481
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
wathurisi_maks.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback