DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4543

Title: ค่านิยมความเป็นไทยและบุคลิกภาพเพศแฝงกับการใช้เครื่องสำอางบำรุงผิวของกลุ่ม Metrosexual
Authors: วิภาดา กิจแก้วกานต์
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดการตลาด -- การศึกษาเฉพาะกรณี
เกย์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
เครื่องสำอาง -- การตลาด -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- สารนิพนธ์
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยเรื่องค่านิยมความเป็นไทยและบุคลิกภาพเพศแฝงกับการใช้เครื่องสำอางบำรุงผิวของกลุ่ม Metrosexual ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางบำรุงผิว โดยมีปัจจัยทางด้านค่านิยมความเป็นไทยและบุคลิกภาพเพศแฝงเป็นส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อทำการหาความสัมพันธ์ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่ม Metrosexual ทั้งหมด 400 คน และทำการสำรวจผ่านทางแบบสอบถามที่แบ่งคำถามออกเป็น 4 ส่วน ประกอบไปด้วยแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง แบบสอบถามเพื่อประเมินระดับค่านิยมความเป็นไทย และแบบสอบถามเพื่อประเมินหาบุคลิกภาพเพศแฝงของผู้ตอบสอบสอบถาม โดยการเก็บข้อมูลแบบเผชิญหน้า (Face to Face) จากผลสำรวจสามารถสรุปได้ว่าผลการทดสอบสมมุติฐานที่ 1 ทางด้านค่านิยมความเป็นไทย โดยส่วนมากกลุ่มตัวอย่างจะมีค่านิยมความเป็นไทยอยู่ในระดับกลางและมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางทางด้านเครื่องสำอางประเภทที่ซื้อเป็นประจำ ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อครั้งสำหรับการซื้อเครื่องสำอาง จำนวนครั้งในการซื้อเครื่องสำอางต่อปี พฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางเป็นประจำ สิ่งที่ผู้บริโภคคำนึงถึงเป็นอันดับแรกในการเลือกใช้เครื่องสำอาง เหตุผลสำคัญในการเลือกใช้เครื่องสำอาง สถานที่ที่เลือกซื้อเครื่องสำอาง และประเภทของเครื่องสำอางที่เลือกซื้อ โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สำหรับสมมุติฐานที่ 2 ทางด้านบุคลิกภาพเพศแฝง โดยส่วนมากกลุ่มตัวอย่างจะมีบุคลิกภาพเพศแฝงเป็นเพศชายและมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางทางด้านค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อครั้ง ในการซื้อเครื่องสำอาง จำนวนครั้งในการซื้อเครื่องสำอางต่อปี และประเทศของเครื่องสำอางที่เลือกซื้อ โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากผลสรุปของงานวิจัยที่ได้มา สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานทางด้านกลยุทธ์ทางการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่ายและแผนการดำเนินงานอื่น ๆ เพื่อให้องค์กรธุรกิจ นักการตลาดสามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กลุ่มผู้บริโภคในระดับสูงสุด รวมถึงสามารถขยายสายผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้กับองค์กรธุรกิจเพิ่มมากขึ้น
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Advisor(s): วีระพงศ์ มาลัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4543
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
wipada_kitk.pdf852.01 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback