DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4195

Title: การเปรียบเทียบรูปแบบคอนเทนต์ จาก Facebook Page ต่อการตัดสินใจมาใช้บริการโรงแรม ศุภาลัย ป่าสัก รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสระบุรี
Other Titles: A comparison of content on Facebook page and how it influences the customers decision to stay at Supalai Pasak Resort & Spa, Saraburi
Authors: จิรัฏฐ์ อัศดร์วานิชชากร
Keywords: ความน่าดึงดูดใจ
ภาพลักษณ์
การตัดสินใจไปใช้บริการ
โซเชียล มีเดีย
เฟซบุ๊กเพจ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบรูปแบบคอนเทนต์ จาก Facebook Page ต่อการตัดสินใจมาใช้บริการโรงแรมศุภาลัย ป่าสัก รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสระบุรี เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา 1) เพื่อศึกษาคอนเทนต์ ในเพจโรงแรม ศุภาลัย ป่าสัก รีสอร์ท แอนด์ สปา ในรูปแบบต่าง ๆ 2) เพื่อศึกษาความน่าดึงดูดใจและภาพลักษณ์จำแนกตามรูปแบบของคอนเทนต์ที่โพสต์ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความน่าดึงดูดใจและภาพลักษณ์ต่อการตัดสินใจมาใช้บริการโรงแรม ศุภาลัย ป่าสัก รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสระบุรี โดยการวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่ใช้ Facebook ในประเทศไทย จำนวน 306 คน วิธีการทางสถิติที่เลือกใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐาน ใช้การทดสอบโดยใช้ ANOVA และ Regression โดยวิธีกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่กรุงเทพมหานคร เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่อายุ 21-30 ปี สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-30,000 บาท ส่วนใหญ่เคยไปท่องเที่ยว จังหวัดสระบุรี และเดินทางไปเองกับครอบครัว/ญาติ ผู้วิจัยได้ทำการสร้างแบบสอบถามโดยจำแนกประเภทคอนเทนต์ 3 รูปแบบ ที่โรงแรมศุภาลัย ป่าสัก รีสอร์ท แอนด์ สปา จ. สระบุรี ที่ได้ทำการโพสต์มากที่สุด 3 อันดับ จากนั้นนำมาสร้างแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นด้านความน่าดึงดูดใจและภาพลักษณ์ของคอนเทนต์ ผลการวิจัย พบว่า คอนเทนต์ทั้ง 3 รูปแบบ ไม่แตกต่างกัน โดยตัวแปรด้านความน่าดึงดูดใจและภาพลักษณ์ จะส่งผลให้ลูกค้าที่ได้พบเห็นเกิดความพึงพอใจ และตัดสินใจมาใช้บริการในที่สุด ซึ่งผลลัพธ์ออกมาอย่างมีนัยสำคัญ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ลูกค้าที่เห็นคอนเทนต์ จาก Facebook Page ของโรงแรมฯ ที่ต่างกันจะรู้สึกถึงความน่าดึงดูดใจที่ไม่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ลูกค้าที่เห็นคอนเทนต์ จาก Facebook Page ของโรงแรมฯ ที่ต่างกันจะทำให้เกิดการรับรู้ภาพลักษณ์ที่ไม่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3)ความน่าดึงดูดใจของคอนเทนต์ จาก Facebook Page ของโรงแรมฯ จะส่งผลต่อความต้องการมาพักที่โรงแรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4) ภาพลักษณ์ของคอนเทนต์ จาก Facebook Page ของโรงแรมฯ จะส่งผลต่อความต้องการมาพักที่โรงแรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
This research studies on the topic of “A comparison of content on Facebook Page and how it influences the customers decision to stay at Supalai Pasak Resort & Spa, Saraburi” is a quantity research study. The author’s objectives are to study the following: 1) To study different types of content on Supalai Pasak Resort & Spa Facebook page 2) To study an attractiveness and a brand image perceived regarding each type of content 3) To study the effects of such an attractiveness and a brand image perceived on the decision to book a stay at Supalai Pasak Resort & Spa, Saraburi. The research uses questionnaires to collect data from 306 Facebook users in Thailand. The statistical methods used in analyzing data include percentage, frequency, mean, and standard deviation. Hypothesis is tested by using ANOVA and Regression analysis with the significance level set at 0.05. Majority of the respondents is single female residing in Bangkok between the age of 21 to 30 years old. They hold a bachelor degree and currently work in private sector with the salary range between 15,001 to 30,000 baht. Most have been to Saraburi either by themselves or with their family and relatives. The researcher uses three content types. Most of them were published by Supalai Pasak Resort & Spa, Saraburi. The content types are used to create the questionnaires in order to analyze opinions about an attractiveness and a brand image perceived by those contents. The result from the questionnaires shows no difference among the three types of content. However, the attractiveness and the brand image perceived from the content show direct and significant impact with the research participants’ level of interest and decision to book a stay at the resort. From testing the hypothesis, the results are the followings: 1) Customers who see different post from the hotel’s Facebook page will have the same feeling of attraction by statistical significance 2) Customers who see different post from the hotel's Facebook Page will have the same feeling of awareness of the image by statistical significance 3) The attractiveness of the content from the hotel's Facebook Page will affect the intention to visit the hotel by statistical significance 4) The image of the content from the hotel's Facebook Page will affect the intention to visit the hotel by statistical significance.
Description: การค้นคว้าอิสระ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: การตัดสินใจ
โรงแรม -- การตัดสินใจ
สื่อสังคมออนไลน์
เครือข่ายสังคมออนไลน์
ที่พักนักท่องเที่ยว -- การตัดสินใจ
ที่พักนักท่องเที่ยว
Advisor(s): ชุติน แก้วนพรัตน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4195
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jirut_asva.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback