DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/402

Title: การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ส่งออกก้าวสู่ความเป็นสากล
Authors: ปริญญา มณีเนตร
Keywords: อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
อุตสาหกรรมเครื่องเรือน
เครื่องเรือน
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ส่งออกก้าวส่งความเป็นสากล มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยที มีผลต่อความเป็นสากล 2 ตัวแปร ได้แก่ตัวแปรนวัตกรรม แบ่งเป็น นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้านกระบวนการผลิต นวัตกรรมด้านการตลาด นวัตกรรมด้าน Logistic และ นวัตกรรมด้านองค์กร ตัวแปรความได้เปรียบทางการแข่งขัน แบ่งเป็น ความได้เปรียบ ด้านผลิตสินค้ามีคุณภาพ ความได้เปรียบด้านผู้นำต้นทุนต่ำ ความได้เปรียบด้านความ รวดเร็วในการ นำเสนอสินค้า ความได้เปรียบด้านการบริการเป็นเลิศ และความได้เปรียบด้านการมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบริษัทผลิตและส่งออก เฟอร์นิเจอร์ของไทย จำนวน 76 บริษัท ตามรายชื่อในสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบปัจจัยที่มีผล ต่อความเป็นสากล และทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความเป็นสากลที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1. นวัตกรรมด้านองค์กรและนวัตกรรมด้านกระบวนการผลิตสามารถอธิบายถึงการส่งผลต่อ ความได้เปรียบทางการแข่งขันได้มากที่สุด คือการผลิตสินค้ามีคุณภาพ, ความรวดเร็วในการนำเสนอ สินค้า, การบริการเป็นเลิศ, การมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี รองลงมาคือ นวัตกรรมด้านการตลาดสามารถ อธิบายถึงการส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านการผลิตสินค้ามีคุณภาพได้ ในขณะเดียวกันนวัตกรรมด้าน Logistics และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ไม่สามารถอธิบายถึงการส่งผลต่อ ความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 2. ความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านการบริการที่เป็นเลิศมีความสัมพันธ์กับความเป็นสากล ในด้านการลงทุนต่างประเทศ โดยมีความสัมพันธ์น้อยในทิศทางเดียวกัน และความได้เปรียบทางการ แข่งขันด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์กร มีความสัมพันธ์กับความเป็นสากลในด้านการดำเนินงาน โดยมีความสัมพันธ์น้อยในทิศทางตรงกันข้าม และความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านการสร้างวัฒนธรรม องค์กรยังมีความสัมพันธ์กับความเป็นสากลในด้าน Logistic โดยมีความสัมพันธ์น้อยในทิศทางตรงกัน ข้ามเช่นกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในขณะที่ความได้เปรียบทางการแข่งขันจากสินค้ามีคุณภาพ, การเป็นผู้นำต้นทุนต่ำ และความ รวดเร็วในการนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับความเป็นสากลด้านใดเลย ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: อุตสาหกรรมเครื่องเรือน--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
เครื่องเรือน--การส่งออก--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): วีระพงศ์ มาลัย
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/402
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Parinya_mane.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback