DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/346

Title: การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: เครือมาศ มีเกษม
Keywords: อาหารจานด่วน
คนวัยทำงาน
พฤติกรรมผู้บริโภค
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงานในเขต กรุงเทพมหานครในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารจาน ด่วนของบุคคลวัยทำงานที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครตลอดจนศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการ บริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงานที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุดซึ่งเก็บข้อมูลจากประชากรที่อยู่ในวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป เป็นเครื่องมือในการศึกษาซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษาดังนี้ จากศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุต่ำกว่า 30 ปี มีสถานภาพโสด ด้านระดับการศึกษาสูงสุดพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญา ตรี หรือเทียบเท่าประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชนและมีรายได้ต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ด้านทัศนคติที่มีต่ออาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครพบว่า กลุ่ม ตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับอาหารจานด่วนในระดับมาก ส่วนทัศนคติด้านความรู้สึกที่มีต่ออาหารจาน ด่วนของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกเกี่ยวกับอาหารจาน ด่วนในระดับมาก ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกบริโภคอาหารจานด่วนประเภทไก่ทอดบ่อยที่สุด รองลงมาเลือก บริโภคอาหารจานด่วนประเภทพิซซ่าโดยกลุ่มตัวอย่างมีความถี่ในการบริโภคอาหารจานด่วนน้อย กว่า 5 ครั้งต่อเดือนและพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารจานด่วนตามห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการบริโภคอาหารจานด่วนต่อครั้งประมาณ 432 บาทโดยกลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่ได้รับความพึงพอใจจากการบริโภคอาหารจานด่วนในระดับมาก ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดของบุคคลวัยทำงานในเขต กรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นด้วยมากที่สุดว่าปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดม ผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครส่วนปัจจัย ด้านช่องทางจัดจำหน่ายปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านราคามีผลต่อพฤติกรรมการบริโภค อาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครในระดับมากตามลำดับ ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านประชากรกับพฤติกรรมการบริโภค อาหารจานด่วนพบว่าลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วน ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านประชากรกับความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัย ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันส่วนใหญ่ส่งผลให้กลุ่ม ตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภค อาหารจานด่วนในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ยกเว้นปัจจัยลักษณะทางประชากรด้านเพศและอาชีพ ไม่ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจ เลือกบริโภคอาหารจานด่วนในด้านปัจจัยด้านราคาปัจจัยด้านช่องทางจัดจำหน่ายและปัจจัยด้านการ ส่งเสริมการตลาดให้แตกต่างกัน ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนกับความคิดเห็น เกี่ยวกับปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารจานด่วนพบว่าการที่ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาดในด้านต่างๆที่แตกต่างกัน ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนที่แตกต่างกันในเกือบทุกประเด็น
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: ชื่อตราผลิตภัณฑ์--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): วีระพงศ์ มาลัย
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/346
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kraumas_meek.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback