DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3404

Title: กลยุทธ์การตลาดเชิงประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Experimental marketing strategies that influence tourism decision making of foreign tourists in Chiang Mai.
Authors: ธัญวลัย หงษ์ทอง
Keywords: การตลาดเชิงประสบการณ์
การตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยว
จังหวัดเชียงใหม่
กลยุทธ์การตลาด
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่มีต่อกลยุทธ์การตลาดเชิงประสบการณ์การท่องเที่ยวของผู้ประกอบการท่องเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาถึงลักษณะการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ ในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาถึงความมีอิทธิพลของกลยุทธ์การตลาด เชิงประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรที่เป็นนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามที่ตัวอย่างได้กรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง มีค่าความเชื่อถือได้ 0.89 และมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ที่ใช้ในการวิเคราะห์เรื่อง การเปรียบเทียบ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษา คือการวิเคราะห์หาผลกระทบ โดยใช้ Simple Regression ในการวิเคราะห์ตัวแปรต้นตัวเดียวคือ การตลาดเชิงประสบการณ์ และตัวแปรตามคือ การตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ และ Multi regression ในการวิเคราะห์ตัวแปรย่อยของตัวแปรต้น คือทฤษฎีการตลาดเชิงประสบการณ์ ประกอบด้วย 1) ประสาทสัมผัส 2) ความรู้สึก 3) ความคิด 4) การกระทำ 5) ความเชื่อมโยง ผลการศึกษาพบว่าการตลาดเชิงประสบการณ์ (ภาพรวม) มีอิทธิพลกับการตัดสินใจ เลือกสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ร้อยละ 91.5 และเมื่อพิจารณาปัจจัยรายย่อย พบว่า การตลาดเชิงประสบการณ์ ด้าน ประสาทสัมผัส ความรู้สึก ความคิด การกระทำ ความเชื่อมโยง ร้อยละ 92.4
The objectives of this study that following topics: 1) The opinions of foreign tourists toward Marketing Strategy for the Experience of Tourism. 2) The nature of the decision to choose tourist destinations of foreign tourists. 3) The influence of marketing strategies on the experience of tourism, which influenced the decision to choose tourist destinations of foreign tourists in Chiang Mai. The sample used in the study was from 400 the foreign tourist who came to Chiang Mai by using the convenient sampling method. The instrument used in the study was a self-administered questionnaire. The statistics used in the data analysis were descriptive statistics: percentage, mean, standard deviation And reference statistics. Used in the analysis. Comparison and analysis of data related to variables studied. Analyzing the impact using Simple Regression in the analysis of the first variable. Experience marketing And the variable is Multiple choice of tourist destinations in Chiang Mai and Multi regression. The study found that experience marketing Overall, the influence of decision making on tourism in Chiangmai was 91.5%, and it was found that the perceptions of sensory marketing, sensory perception, perception, and linkage were 92.4%.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: เชียงใหม่ -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวต่างชาติ
การท่องเที่ยว -- ไทย -- เชียงใหม่ -- วิจัย
นักท่องเที่ยวต่างชาติ -- การตัดสินใจ
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- เชียงใหม่ -- วิจัย
การท่องเที่ยว -- การตลาด
Advisor(s): ศศิประภา พันธนาเสวี
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3404
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
thunwalai_hong.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback