DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3170

Title: ความรุนแรงที่ปรากฏในสื่อ กรณีศึกษา ละครโทรทัศน์เรื่อง “ล่า 2017”
Other Titles: The Study of Violence in Television Drama: Case Study of “Lar 2017”
Authors: วิรยาพร กมลธรรม
Keywords: ความรุนแรง
การเรียนรู้ทางสังคม
ละครโทรทัศน์
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยเรื่อง ความรุนแรงที่ปรากฏในสื่อ กรณีศึกษา ละครโทรทัศน์เรื่อง ล่า 2017 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเล่าเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร และแก่นเรื่อง ของละครโทรทัศน์ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะความรุนแรงที่พบในละครโทรทัศน์เรื่องล่า 2017 และเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ทางสังคมผ่านละครโทรทัศน์ เรื่องล่า 2017 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยผู้วิจัยทำการรับชมละครโทรทัศน์เรื่องล่า 2017 ทั้งหมด จำนวน 24 ตอน ซึ่งอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับละครโทรทัศน์ ทฤษฎีการเล่าเรื่อง แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรุนแรง และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าความรุนแรงที่ปรากฏในละครโทรทัศน์เรื่องล่า 2017 มีจำนวนทั้งหมด 107 ฉาก สามารถแบ่งลักษณะความรุนแรงทางตรงจำนวน 83 ฉาก ได้แก่ ความรุนแรงทางร่างกาย ความรุนแรงทางจิตใจ และความรุนแรงทางเพศ เป็นต้น และลักษณะความรุนแรงทางโครงสร้าง จำนวน 24 ฉาก ได้แก่ ความไม่เท่าเทียมของชายหญิง การใช้อำนาจในทางที่ผิด และการข่มขู่ เป็นต้น ซึ่งความ รุนแรงที่ปรากฏอยู่ในละครโทรทัศน์เรื่องล่า 2017 ล้วนเป็นความรุนแรงที่สะท้อนถึงปัญหาในสังคม และการรับชมความรุนแรงซ้ำๆ มีผลทำให้ผู้ชมเกิดการเรียนรู้ทางสังคมได้ 2 รูปแบบคือ การหลีกเลี่ยงการรับชมความรุนแรง และการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
This research of The Study of Violence in Television Drama Case Study of Lar 2017. The objective of this research is to study the narrative, plot, character and theme which particularly focus on behavior in social learning analysis through this television drama Lar 2017. This research is conduct as qualitative research by using textual analysis as research tool to analyze the content in this television drama. All 24 episodes in Lar 2017 has been studied by researcher by applying Television Drama Theory, Narrative Theory and Violence and Social Learning Theory as the main concept in this research. The result of the research has appeared in television drama Lar 2017. It found that there are 107 scenes in this television drama has exposed the violence parts. 83 scenes of total have shown the extremely violence action which are Physical violence, Psychological violence and Sexual violence. Also, 24 scenes have contained Structural violence such as Sexual discrimination, Abuse of Power, and Repression. To summarize, all violence scenes that occurred in this Television Drama has reflected to our today society especially in social violence problem. Moreover, repeated watching has an effect to an audience in term of social learning in two ways which are violence watching avoiding and solving problem by using the violence.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: ละครโทรทัศน์
ความรุนแรง
การเรียนรู้ทางสังคม
รายการโทรทัศน์
บทละคร
Advisor(s): มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3170
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
wirayaphorn_kamo.pdf5.74 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback