DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3168

Title: ความรุนแรงที่ปรากฏในละครซิทคอมทางโทรทัศน์ “เป็นต่อ 2017”
Other Titles: The violence in television sit-com “Pen Tor 2017”
Authors: ปาลิตา วานิชย์เจริญการ
Keywords: ความรุนแรง
ละครซิทคอม
ภาพตัวแทน
การปลูกฝังทางสังคม
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเรื่อง ความรุนแรงที่ปรากฏในละครซิทคอมทางโทรทัศน์ “เป็นต่อ 2017”มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การเล่าเรื่องโดยศึกษาผ่านองค์ประกอบต่างๆของละครซิทคอม เพื่อวิเคราะห์รูปแบบความรุนแรงและความสัมพันธ์ทางสังคมที่ปรากฎในละครซิทคอม เพื่อวิเคราะห์โดยใช้ภาพตัวแทนที่ปรากฎในละครซิทคอมและเพื่อวิเคราะห์ผ่านการปลูกฝังทางความรุนแรงที่ปรากฎในละครซิทคอม“เป็นต่อ 2017” ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดการเล่าเรื่อง(Narrative) แนวคิดเรื่องความรุนแรง(Violence) แนวคิดเรื่องละครซิทคอม ทฤษฎีการปลูกฝัง(Cultivation Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ทางสังคม(Social Relationship Theory)และแนวคิดเรื่องภาพตัวแทน(Representation) เป็นการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์จากเนื้อหาหรือตัวบท(Textual Analysis) และมีวิธีการจำแนกด้วยการคัดเลือกเฉพาะเจาะจงจากชื่อตอนที่มีเนื้อหาและฉากในการนำเสนอรูปแบบของความรุนแรงผ่านวิธีการผลิตซ้ำๆในมุขตลกของละครซิทคอมเรื่องนี้ ผลการวิจัยพบว่า ละครซิทคอม“เป็นต่อ 2017”ได้มีการนำเสนอความรุนแรงทั้ง 3 ประเภทของ ได้แก่ความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้างและความรุนแรงทางวัฒนธรรม ซึ่งจะเห็นได้ชัดอย่างยิ่งผ่านภาพตัวแทนของการผลิตซ้ำๆเพื่อตอกย้ำทางความรุนแรงที่ได้กระทำผ่านมุขตลกจึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวละครซิทคอมเรื่อง“เป็นต่อ 2017” ทำให้เกิดการลดทอนหรือด้อยค่าความเป็นมนุษย์ผ่านความ สัมพันธ์ 4 คู่ ได้แก่ ความ สัมพันธ์เจ้านาย-ลูกน้อง ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านาย–ลูกน้อง(ในที่ทำงาน) ความสัมพันธ์คู่สามี-ภรรยาและความสัมพันธ์ของเพื่อน แสดงให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันปรากฏผ่านลักษณะทางของการปลูกฝังทางสังคม
The violence in television sit-com “Pen Tor 2017”.The objectives are to analyze the narrative by studying through various elements of the sitcom,to analyze the patterns of violence and social relationships that appear in sitcom, to analyze by using images depicted in sitcoms, and to analyze the violent implantation that appears in the sitcom"Pen Tor 2017”.The researcher has applied the Concept of Narrative, the Concept of Violence,the Concept of sitcom, the Cultivation Theory,the Social Relationship Theory , and the Concept of Representation for this Qualitative Research. Using the textual analysis method by selecting classification method specifically from the episode title that includes content and scenes of violence presented through repetitive production of jokes in the sitcom. The research found that the sitcom“Pen Tor 2017 "contains all three categories of violence : Direct Violence, Structural Violence, and Cultural Violence. It is obvious that the repetitive representation to reinforce the violence has been interpreted through the unique identity jokes used in the sitcom “Pen Tor 2017”. These jokes have created humanity devaluation or impairment through 4 pairs of relationship: Boss - Subordinate relationship, Bosses-Subordinate(at work) relationship, husband-wife relationship, and relationship among friends.These relationships show social inequality through the nature of social cultivation.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: ความรุนแรง -- วิจัย
รายการโทรทัศน์
โทรทัศน์ -- การผลิตและการกำกับรายการ
ละครโทรทัศน์
การสื่อสาร
Advisor(s): มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3168
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
palita_vani.pdf8.27 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback