DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1287

Title: โครงการพิพิธภัณฑ์ขนมไทย
Other Titles: The project of Thai sweets museum
Authors: จิรนันท์ สุรพงษ์ประชา
Keywords: พิพิธภัณฑ์
ขนมไทย
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเฉพาะบุคคลเรื่อง “โครงการพิพิธภัณฑ์ขนมไทย” ผู้วิจัยได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนธุรกิจและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายก่อนการจัดทำแผนธุรกิจโครงการพิพิธภัณฑ์ขนมไทย ดังนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพฤติกรรมการบริโภคขนมไทย ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อขนมไทย และทัศนคติต่อขนมไทยของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางและความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขนมไทยต่อไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจขนมไทย จำนวน 2 ราย ซึ่งใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interviewing) และผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ซึ่งใช้เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นหญิง มีสถานภาพสมรสเป็นโสด มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท พฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของผู้บริโภคนั้นส่วนใหญ่จะรับประทานขนมไทย 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ รับประทานช่วงเวลาอาหารมือกลางวัน (11.01-14.00 น.) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อขนมไทย โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ความสะอาด ความสดใหม่ และรสชาติ ปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญในระดับมาก ได้แก่ ราคาและความคุ้มค่า ความรวดเร็วในการให้บริการ ความหลากหลาย สถานที่ตั้งและความสะดวกในการเดินทาง ความสวยงาม คุณค่าทางโภชนาการ และปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญในระดับปานกลาง ได้แก่ ชื่อเสียง บรรยากาศ รายการส่งเสริมการขาย และบุคคลรอบข้าง ตามลำดับ ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อขนมไทยอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 31.2 สาเหตุที่ไม่ชอบขนมไทยเพราะไม่ชอบรสชาติ ร้อยละ 33.5 ถ้ามีพิพิธภัณฑ์ขนมไทยส่วนใหญ่จะสนใจ ร้อยละ 72.8 และไม่สนใจ ร้อยละ 27.5 สาเหตุที่ไม่สนใจเพราะ ราคาน่าจะแพงกว่าร้านปกติ ร้อยละ 51.8 ประเภทของขนมไทยที่ต้องการให้มี ได้แก่ ขนมประเภทไข่ เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ เป็นต้น ร้อยละ 11.9 ส่วนราคาของขนมไทยที่ยอมรับในแต่ละครั้งคือต่ำกว่าหรือเท่ากับ 50 บาท ร้อยละ 67.0อนาคตถ้ามีคิดค้นขนมไทยที่สร้างสมดุลเพื่อสุขภาพผู้บริโภคจะสนใจ ร้อยละ 78.0 และหากมีร้านขนมไทยในรูปของพิพิธภัณฑ์ขนมไทยก็จะสนใจ ร้อยละ 68.3
This personal study focused on “the project of Thai sweets museum” and I studied on the possibility of the business plan establishment and the needs of sampling groups prior to proceeding with the project of Thai sweets museum. As a result, the objectives of this study were to study the consumer’s need in relation to consumption of Thai sweets, to study factors influencing the consumption of Thai sweets, to study the attitude of people living in Bangkok toward Thai sweets. The purpose of the survey was to find the possibility to establish guideline for Thai museum establishment. I conducted a survey on the sampling groups of 2 Thai sweets entrepreneurs with In-Depth Interviewing and on 400 persons living in Bangkok with questionnaire and analyzed data with quantities research. The tools employed for the qualitative research were frequency, percentage, mean and standard deviation. Based on the study, it was found that Most consumer were women with 20-30 years old , bachelor degree, resided in Bangkok, worked as employee in private company, had an income 20,001 – 30,000 Baht/month in average. Most consumers had Thai sweets once-twice/week during launch (11.01AM - 02.00 PM) There were different factors influenced consumer decisions to have Thai sweet. The most significant factors were cleanliness, freshness, taste. The significant factors were price and worthiness, service, varieties, location, convenience, beauty, nutritive value. The moderate factors were reputation, environment, promotion and opinion of people around the consumer respectively. 31.2% of consumers think that Thai sweet is very good. 33.5% of consumers do not like Thai sweet taste. 72.8% of consumer will be interested if there is the establishment of Thai sweets museum whereas 27.5% of consumers are not interested because the price may be expensive. 51.8% of consumers states that Thai sweets made of eggs should be available i.e. Foi Thong (Sweet egg-serpentine), Thong Yib (Golden sweetmeat in small porcelain cup). 67.0% of consumers may be interested in Thai sweet if the sweets creates balance on their health and 78.0% of consumer will be interested if there is the shop designed as a Thai Sweets museum.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)-- สาขาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): วันชัย มงคลยประดิษฐ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1287
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jiranun_sura.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback