DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1178

Title: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า และทัศนคติต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า กับการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอาหาร กรณีศึกษา : ประชากรวัยแรงงานเขตจังหวัดระยอง
Other Titles: The relationship between country of origin and attitude toward the decision to purchase appliances and food case study : the labor in work-force age in Rayong
Authors: อรพรรณ ปานภู่ทอง
Keywords: ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า
ทัศนคติ
การตัดสินใจซื้อ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
อาหาร
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของทัศนคติต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า กับการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า และอาหารจากประเทศสหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น และ จีน รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า และทัศนคติต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า กับการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอาหาร ของประชากรวัยแรงงานในเขตจังหวัดระยอง โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ประชากรวัยแรงงานชายและหญิง อายุ 22-35 ปี ในเขตจังหวัดระยอง โดยทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยข้อมูล 2 กลุ่มขึ้นไป และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จากผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพลูกจ้างเอกชน/พนักงานบริษัท มีรายได้ต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท และสถานภาพโสด (2) สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าอยู่ในระดับมาก ความรู้สึกต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับมาก และความรู้สึกต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าอาหารอยู่ในระดับมาก (3) สำหรับประเทศญี่ปุ่น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าอยู่ในระดับมาก ความรู้สึกต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศญี่ปุ่นอยู่ในระดับมาก และความรู้สึกต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าอาหารอยู่ในระดับมาก (4) สำหรับประเทศจีน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าอยู่ในระดับปานกลาง ความรู้สึกต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับน้อย และความรู้สึกต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าอาหารอยู่ในระดับน้อย (5) กลุ่มตัวอย่างมีการตัดสินใจซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา และน้อยที่สุด คือ ประเทศจีน และกลุ่มตัวอย่างมีการตัดสินใจซื้อสินค้าอาหารจากประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา และน้อยที่สุด คือ ประเทศจีน (6) แหล่งกำเนิดสินค้าที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อทัศนคติต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า และการตัดสินใจซื้อแตกต่างกัน โดยประเทศญี่ปุ่น มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า, ความรู้สึกต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และความรู้สึกต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าอาหาร และการตัดสินใจซื้อ มากที่สุด รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา และน้อยที่สุด คือ ประเทศจีน (7) ความรู้สึกต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศญี่ปุ่น และจีน และความรู้สึกต่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าอาหาร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อสินค้าอาหารจากประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน
This Independent study aims to study the attitude toward source of Electronic appliances and food product from the United States, Japan and China, including a study of the relationship between the sources of product, toward source of product toward the purchase of Electronic appliances and food of the labor in work-force age in Rayong The sample in the study is Men and Women aged 22-35 years in Rayong of 400 people, the statistics used in the analysis were percentage, mean, standard deviation, One-way ANOVA and multiple regression analysis with the level of significance of 0.05. The results showed that (1) the majority are male with below bachelor degree levels Employee private / staff with a monthly income of 10,001 - 20,000 baht, single (2) For the United States, Knowledge about the source of product is at high level, Sense to the source of Electronic appliances is at high level and feel to the source of food product is at high level. (3) For Japan, Knowledge about the source of product is at high level, Sense to the source of Electronic appliances is at high level and feel to the source of food product is at high level. (4) For China. Knowledge about the source of product is at moderate level, Sense to the source of Electronic appliances is at low level and feel to the source of food product is at low level. (5) Most of the respondents purchase Electronic appliances from Japan, followed by the United States and lowest in China, and Most of the respondents purchase food product from Japan, followed by the United States and lowest in China. (6) Source of product affect attitudes toward source of product and decisions by Japan have highest knowledge about the source of product, the feeling of the source of Electronic and feel to the source of food products and the decision to purchase, followed by the United States and lowest in China (7) Sense of the source of Electronic product positively correlated with the decision to purchase Electronic product from Japan and China and the feeling of the source of food products positively correlated with the decision to purchase food from the United States and China.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,2556
Advisor(s): ลักคณา วรศิลป์ชัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1178
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
orapan_panp.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback