DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/980

Title: การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อการตั้งใจซื้อสินค้าออร์แกนิค ร้านค้า A ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: The Relationship and the Influences of the Factors Affecting Purchase Intention of Organic Product Shop “A” in Pathumthani Province
Authors: อรอนงค์ พึ่งชู
Keywords: แรงจูงใจในการซื้อสินค้า
การประเมินฟาร์มออร์แกนิค
การสื่อสารความพิเศษของอินทรีย์
สุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การตั้งใจซื้อสินค้าออร์แกนิค
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยเรื่องการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อการตั้งใจซื้อสินค้าออร์แกนิค ร้านค้า A ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลของปัจจัยฉลากสินค้า (Label Product) ปัจจัยการสื่อสารความพิเศษของอินทรีย์ (Communication of Organic Distinctiveness) ปัจจัยสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และทรัพยากรของอินทรีย์ (Global Socio–economic Conditions and Resource Availability of Organicity) ปัจจัยการประเมินฟาร์มออร์แกนิค (Assessment of Statements about Organic Farming) ปัจจัยสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Healthy and Environmentally Friendly) ปัจจัยแรงจูงใจในการซื้อสินค้า (Buying Motivation) ต่อการตั้งใจซื้อสินค้าออร์แกนิคร้านค้า A ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยการวิจัย เชิงสำรวจ (Survey Method) และใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) จากผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานีต่อการตั้งใจซื้อสินค้าออร์แกนิคร้านค้า A โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 300 ชุด มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ซึ่งประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product–moment Correlation Coefficient) และวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) โดยกำหนดระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ .05 และ .01 ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21–30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001–20,000 บาท อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/ ลูกจ้าง และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลของปัจจัยฉลากสินค้า (Label Product) ปัจจัยการสื่อสารความพิเศษของอินทรีย์ (Communication of Organic Distinctiveness) ปัจจัยการประเมินฟาร์มออร์แกนิค (Assessment of Statements about Organic Farming) ปัจจัยสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Healthy and Environmentally Friendly) ปัจจัยแรงจูงใจในการซื้อสินค้า (Buying Motivation) มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกต่อ การตั้งใจซื้อสินค้าออร์แกนิคร้านค้า A ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 อีกทั้งผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยแรงจูงใจในการซื้อสินค้า (Buying Motivation) (β = 0.258) ปัจจัยการประเมินฟาร์มออร์แกนิค (Assessment of Statements about Organic Farming) (β = 0.242) ปัจจัยการสื่อสารความพิเศษของอินทรีย์ (Communication of Organic Distinctiveness) (β = 0.211) ปัจจัยสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Healthy and Environmentally Friendly) (β = 0.158) มีอำนาจพยากรณ์ต่อการตั้งใจซื้อสินค้าออร์แกนิคร้านค้า A ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยฉลากสินค้า (Label Product) และปัจจัยสภาพทางสังคมเศรษฐกิจและทรัพยากรของอินทรีย์ (Global Socio–economic Conditions and Resource Availability of Organicity) ไม่มีอำนาจพยากรณ์ต่อการตั้งใจซื้อสินค้าออร์แกนิคร้านค้า A ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The studies of the relationship and the influences of the factor affecting purchase intention of the organic product shop “A” in Pathumthani Province. The researcher attempted to carry out the relationship of label product, communications of organic distinctiveness, global socio–economic conditions and resource availability of organicity, assessment of statements about organic farming, healthy and environmentally friendly, buying motivation affecting purchase intention of Organic Product Shop A in Pathumthani Province. The survey method was used. The data was collected by questionnaire through 300 customers who bought an products from the organic product shop “A” in Pathumthani Province. Then, the descriptive statistical tools such as means, modes, percentiles, and standard deviations were implemented. Testing of the hypotheses was done through Pearson Product–moment Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis at .05 and .01 level of significance. The researcher also found that most of participants were females at the age of 21–30 years–old graduated bachelor’s degree working in companies as an employee with the income of 10,001–20,000 baht. The hypotheses testing results indicated that the label product, communication of organic distinctiveness, assessment of statements about organic farming, healthy and environmentally friendly, buying motivation were positively related to purchase intention of the organic product shop “A” in Pathumthani Province at 0.1 level of significance. The researcher also found that the following factors were related to purchase Intention of the organic product shop “A” in Pathumthani Province at .05 level of significance: Buying Motivation (β = 0.258), Assessment of Statement about Organic Farming (β = 0.242), Communications of Organic Distinctiveness (β = 0.211), and Healthy and Environmentally Friendly (β = 0.158). The remaining factors engaged in this research, label product and global socio–economic conditions and resource availability of organicity, were not found to be significant related to purchase Intention of the organic product shop “A” in Pathumthani Province.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): เพ็ญจิรา คันธวงศ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/980
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Ornanong_pung.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback