DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/951

Title: ปัญหาพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ที่มีต่อเกษตรกร และภาคเกษตรกรรมไทย : ศึกษากรณีสิทธิเกษตรกร
Other Titles: The reflect of the plant variety control B.E. 2542 to the farmer and Thailand agriculture, study on the farmer’s right
Authors: ชยานันท์ สังขสุวรรณ์
Keywords: พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช
เกษตรกรไทย
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ส่งออกพืชผลทางการเกษตรมากที่สุดประเทศ หนึ่งในโลก อีกทั้งเกษตรกรในประเทศก็มีความรู้ความชำนาญในการปรับปรุงขยายพันธุ์พืช การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชจึงเป็นกิจกรรมที่ทำกันทั้งโดยนักวิทยาศาสตร์ และเกษตรกร ไม่ว่า ในห้องปฏิบัติการหรือในระดับไร่นา จึงเกิดแนวความคิดในการให้ความคุ้มครองแก่พันธุ์พืชต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติดีขึ้น เพื่อช่วยส่งเสริมให้มีการคิดค้นตลอดจนนำ เทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช และช่วยให้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ชีวภาพเป็นไปอย่างยั่งยืน ทรัพยากรพันธุ์พืช เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ทั้งต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งต่างๆ ในระบบนิเวศ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีทรัพยากรพันธุ์พืชอย่างอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันพันธุ์พืชยังเป็นวัตถุดิบสำคัญในเทคโนโลยีชีวภาพ โดยประเทศอุตสาหกรรมได้นำระบบ ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) มาใช้คุ้มครองการสร้างสรรค์งานในเทคโนโลยีสาขานี้ อย่างไรก็ดีประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่า การคุ้มครองด้วยระบบทรัพย์สินทางปัญญา ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะต่อการคงอยู่ของทรัพยากรพันธุ์พืช ซึ่งประเทศไทย เองก็ได้มีการออก พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ซึ่งมีลักษณะเป็นระบบกฎหมาย เฉพาะ (sui generis system) ที่ให้ความคุ้มครองการสร้างสรรค์จากสติปัญญาของมนุษย์เหมือน เช่นกับระบบทรัพย์สินทางปัญญา แต่จะเห็นได้ว่ายังมีบางมาตราที่บัญญัติจำกัดสิทธิเกษตรกรอยู่ ซึ่งหากเปรียบเทียบระบบกฎหมายของหลายประเทศในแถบเอเชียด้วยกันแล้ว สิทธิเกษตรกร ของประเทศไทยยังไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ ฉะนั้นจึงควรมีการแก้ไข พระราชบัญญัติ คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ในเรื่องสิทธิเกษตรกรให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศและ รับรองสิทธิเกษตรกรให้มากยิ่งขึ้น สารนิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาถึง หลักการ เนื้อหา และผลกระทบของพระราชบัญญัติคุ้มครอง พันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ที่มีต่อเกษตรกรและภาคเกษตรกรรมไทย ซึ่งจะทำให้ทราบถึงแนวทางการ แก้ไขว่าควรจะเป็นอย่างไร อีกทั้งเพื่อจะได้ไม่มีผลกระทบต่อทรัพยากรพันธุ์พืช การศึกษาในสารนิพนธ์นี้ใช้วิธีวิจัยเอกสารเป็นหลัก โดยศึกษาประกอบแนวคิด และ หลักการกฎหมายตามกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในที่สำคัญบางประเทศ จากการศึกษาพบว่า สิทธิเกษตรกรขั้นพื้นฐานนั้นอย่างน้อยที่สุดจะต้องประกอบไปด้วย สิทธิ 2 ประการคือ สิทธิของเกษตรกรในการเก็บรักษาสายพันธุ์พืชเอาไปปลูกต่อในไร่นาของ ตนเอง และสิทธิของเกษตรกรที่จะแลกเปลี่ยน แจกจ่าย หรือซื้อขายพันธุ์พืชกันระหว่าง เกษตรกรกับเกษตรกร หรือระหว่างชุมชนกับชุมชน
Thailand is an agricultural country which mainly exports agricultural products and also has an expert in improve and development of plant varieties which conducts in diversity level such as laboratory by scientist or even in the house by farmer. This activity gave an idea for the government to prevent the plant variety which has been developed for more effectiveness along with the new technology to amend the plant varieties and prolong the biological resource. Plant varieties are an important resource to life form and everything in the ecology. Thailand is one of the countries which had plenty of the plant varieties resources. Nowadays, many developed country brought the intellectual property system to protected the technology in this line of work but in contrary most of the developing country consider as a threat to the existence of the plant varieties. Thailand also issued the protection of plant variety act B.E. 2542 which considered as the sui generis system. Also provided the protection for creativity work of human which had similarity to the intellectual property system, but it seem to be that some section still limited the right of farmer which compare to the country in the Asia continental, our farmer’s right still not efficiency protected. The amendment of the of plant variety act B.E. 2542 was necessary, especially in the farmer’s right to make it conform to other country. This assertion intends to study in principle context and impact of the protection of plant variety act B.E. 2542 to farmer and Thailand agriculture which will demonstrate the concept of the solution. The methodology of this assertion is the paper research which includes idea and principle of the international code and some domestic law. The study show that the fundamental right of the farmer must at least consist of 2 rights which are the right to keep the plant varieties to use in their farm and the right to exchange, distribute or trade plant variety among the farmer’s or communities
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2551
Subjects: พันธุ์พืช -- การคุ้มครอง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
พันธุ์พืช -- การคุ้มครอง -- การศึกษาเฉพาะกรณี
พันธุศาสตร์พืช -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
Advisor(s): อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์
เศรษฐบุตร อิทธิธรรมวินิจ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/951
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chayanan_sung.pdf629.47 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback