DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/870

Title: การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบตเตอรี่ โดยใช้หลักการปรับปรุงค่าประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร
Other Titles: Increase efficiency of battery producing using overall equipment efficiency (OEE)
Authors: จักรพันธ์ สังข์แก้ว
Keywords: การผลิตแบตเตอรี่
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: โครงงานวิจัยนี้ เป็นเป็นแนวทางในการบริหารงาน ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และเป็น วิธีการช่วยลดต้นทุนในการผลิต โดยทำการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของ เครื่องจักร โดยได้วิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของเครื่องจักรผ่านความสูญเสียด้าน ความพร้อม ความสูญเสียด้านสมรรถนะ และความสูญเสียด้านคุณภาพของเครื่องจักรที่ใช้อยู่ ปัจจุบันเพื่อทราบถึงความสูญเสียหลักๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร ได้ทำ การเปรียบเทียบเวลา การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการติดตั้งและปรับแต่งเครื่องจักรเฉลี่ยก่อนการ ปรับปรุงและหลังการปรับปรุง โดยทำการเก็บบันทึกข้อมูลและทำการตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อ นำมาวิเคราะห์ เป็นแนวทางในการนำลักการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรมาประยุกต์ ใช้ในองค์กร ซึ่งช่วยลดของเสียระหว่างกระบวนการผลิต ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น และลดความ เสียหายของเครื่องจักรโดยฉับพลัน จึงส่งผลให้ต้นทุนทางด้านการผลิตต่ำลง และช่วยในการพัฒนา กระบวนการด้านการผลิต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพของสินค้าตลอดจนการสร้างความเชื่อมั่น ให้กับกลุ่มลูกค้า และช่วยส่งผลให้ยอดขายมีแนวโน้มที่สูงขึ้น เป็นตัวชี้วัดการเพิ่มขีดความสามารถ ด้านบริหารจัดการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกิดขึ้นกับองค์กร เนื่องจากเป็นปัจจัยที่จะ ทำให้ภาคการผลิตมีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพโดยรวมเฉลี่ยของเครื่องจักรเพิ่มขึ้นจาก 64.98% เป็น 70.73% หลังการปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่โดยเตรียมสารเคมีและทำการบันทึกค่าใหม่ ใน กระบวนการผสม ทำให้ได้แผ่นกริด เพิ่มขึ้น 25,000 แผ่น/วัน คิดเป็นเปอร์เซ็นได้ 11.11 % ในการ ปรับปรุงกระบวนการผสมใหม่ทำให้เพิ่มยอดการผลิต และสามารถคิดเป็นจำนวนเงินได้เท่ากับ 275,250 บาท/วัน
This is a case study on productivity and efficiency improvement for the research project. The research project presents an abstract guideline for management in manufacturing industries and a method for cost reduction. This study shows an idea to increase overall efficiency of equipments by analyzing loss from Availibility, Performance and Quality of equipments which are currently use at the study site. From time measured comparison of machine set up time before and after improvement, the analysis results in a guideline to increase overall efficiency of equipments within the organization to help reduce defect during in-process production which means it increases of output and reduce breakdown of equipments. Result of research found that the average efficiency of equipments increase from 64.98% to 70.73% new method of chemical preparation and record during mixing process. New method resulted in increasing of pasted plates to 25,000 pnls. / day about 11.11 % and can be calculate to 275,250 Bahts / day. It becomes important factor to products ' quality, and encourage confident to our customers which will help sales volume trend to go upward. It shall indicate the improvement of management ability, increase competition among organization due to those factors shall help manufacturing to be strong and sustainable competitive.
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: แบตเตอรี่--การผลิต--การศึกษาเฉพาะกรณี
แบตเตอรี่--ต้นทุนการผลิต--การศึกษาเฉพาะกรณี
ยานยนต์--แบตเตอรี่--การผลิต--การศึกษาเฉพาะกรณี
ยานยนต์--แบตเตอรี่--ต้นทุนการผลิต--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): สืบพงศ์ อติชาตการ
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/870
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chakkapan_sang.pdf9.67 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback