DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/862

Title: โมเดลเชิงสาเหตุคุณภาพการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
Other Titles: A causal model of information technology service quality affecting Bangkok University, Rangsit Campus undergraduates' satisfaction and efficiency
Authors: ธีราวุฒิ วงศ์อินทร์
Keywords: เทคโนโลยีการสนเทศ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุคุณภาพการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจของผู้ใช้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต และ (4) เพือตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุคุณภาพการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิด ทฤษฎี และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรที่ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแปรอิสระ คือ คุณภาพการให้บริการประกอบด้วย สิ่งที่สัมผัสได้ ความเชื่อถือ และไว้วางใจได้ความรวดเร็วการรับประกัน และการเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคลตัวแปรคั่นกลาง ได้แก่ ความพึงพอใจของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ตัวแปรตามได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยทำการวิจัยเชิงประจักษ์ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณภาพการให้บริการในมิติสิ่งที่สัมผัสได้มีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของนักศึกษาที่ใช้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. คุณภาพการให้บริการในมิติการรับประกันมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของนักศึกษาที่ใช้บริการด้านเทคโนโลยี 3. คุณภาพการให้บริการในมิติการเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคลมีอิทธิพลทางบวกต่อ ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ใช้บริการด้านเทคโนโลยี 4. คุณภาพการให้บริการในมิติการรับประกันมีอิทธิพลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมีอิทธิพลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลจากการวิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้คือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิตควรมุ่งเน้นการให้บริการในมิติสิ่งที่สัมผัสได้มิติการรับประกันมิติการเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคลท้ายที่สุดมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ควรให้ความสำคัญในด้านคุณภาพการให้บริการเพื่อก่อให้เกิดความพึงพอใจในการใช้บริการและเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา
The study of this Causal Model of Information Technology Service Quality Affecting BangkokUniversity,RangsitCampusUndergraduates’SatisfactionandAchievementhasfollowing objectives;(1)tostudytheeffectof information technology service quality on Bangkok University, Rangsit campus undergraduates’satisfaction (2) to study the influence of information technology service quality on Bangkok University, Rangsit campus undergraduates’efficiency(3)to studythe effectofinformationtechnologyusers’satisfactiononBangkokUniversity,Rangsitcampus undergraduates’efficiencyand(4)toexaminetheconsistencyofthemodelofInformation Technology Service Quality Affecting Bangkok University, Rangsit Campus Undergraduates’ Satisfaction and efficiencywhich was developedaccording to ideas, theories and related empirical research. Independentvariablewasservicequalityconsistingoftangibles,reliability,responsiveness, assurance and empathy. The mediator was Bangkok University, Rangsit campus undergraduates’ satisfaction and the dependent variable was Bangkok University, Rangsit campus undergraduates’ efficiency. The researcher applied a quantitative research method by doing an empirical research. Fourhundred sets of questionnaires were used to collect data from Bangkok University, Rangsit campus undergraduates. The used statistics were frequency distribution, mean, percentage and Structural Equation Modeling analysis. The research findings are: ช Service quality in the dimension of tangibles has a positive effect on satisfaction of undergraduates who use information technology service. Service quality in the dimension of assurance positively influences satisfaction of undergraduates who use information technology service. Service quality in the dimension of empathy positively affects satisfaction of undergraduates who use information technology service. Service quality in the dimension of assurance has a positive effect on efficiency of undergraduates who use information technology service. Information technology service user’s satisfaction positively affects students’ efficiency. Recommendations from this research are that Bangkok University, Rangsit campus should focus on service quality in the dimensions of tangibles, assurance and empathy. Finally, Bangkok University, Rangsit campus should pay attention to service quality to create students satisfaction and efficiency.
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: คุณภาพการให้บริการ (เครือข่ายคอมพิวเตอร์)--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
คุณภาพการให้บริการ (เครือข่ายคอมพิวเตอร์)--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ--นักศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
นักศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): อัมพล ชูสนุก
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/862
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
teerawut_wong.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback