DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/686

Title: ความสามารถทางการสื่อสารและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: ธัชชา วิทยวิโรจน์
Keywords: การสังสรรค์ทางวัฒนธรรม
ช่องทางการสื่อสาร
การปรับตัวทางสังคม
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การปรับตัวทางวัฒนธรรมความสามารถทางการสื่อสารภายใต้วัฒนธรรมไทย ของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งรูปแบบความสามารถทางการสื่อสารของชาวต่างชาติที่มีระดับขั้นตอนการปรับตัวทางวัฒนธรรมแตกต่างกัน โดยใช้แบบสอบถามกับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ใน กรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน ทำการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, การแจกแจงความถี่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ชาวต่างชาติที่ศึกษาเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-34 ปีมากที่สุด มีสัญชาติอเมริกามากที่สุด มากกว่าครึ่งมาจากประเทศในกลุ่มตะวันตกและมีสถานภาพแต่งงานแล้ว มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามากที่สุด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และ มีรายได้มากกว่า 70,000 บาทต่อเดือน มีระยะเวลาที่พำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 1-3 ปี และมากกว่าครึ่งที่มีประสบการณ์ในการเดินทางไปต่างประเทศก่อนที่จะเข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทย 2. ปัจจัยด้านระยะเวลาที่ชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในประเทศไทย มีความสัมพันธ์กับระดับขั้นการปรับตัวของชาวต่างชาติ 3. ชาวต่างชาติที่อยู่ในระดับขั้นตอนการปรับตัวที่แตกต่างกันจะมีความสามารถทางการสื่อสารภายใต้วัฒนธรรมไทยแตกต่างกัน โดยผู้ที่อยู่ในระดับขั้นตอนที่ 1 ขั้นตื่นตาตื่นใจกับวัฒนธรรมใหม่ (Honeymoon Stage) ชาวต่างชาติจะมีความสามารถในการสื่อสารทางอารมณ์สูง โดยมีอารมณ์สะท้อนถึงความสนใจที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนไทย และ รองลงมา คือ มีความสนใจที่จะเรียนภาษาไทย ผู้ที่อยู่ในระดับขั้นตอนที่ 2 ขั้นหงุดหงิดใจ (Frustration Stage) ชาวต่างชาติจะมีความสามารถในการสื่อสารทางอารมณ์ลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่อยู่ในระดับขั้นตอนที่ 1 โดยความสามารถในการสื่อสารทางอารมณ์ที่ลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับผู้ที่อยู่ในระดับขั้นตอนที่ 1 คือ ความสนใจที่จะเรียนภาษาไทย และรองลงมา คือ ความสนใจที่จะปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย/สังคมไทยผู้ที่อยู่ในระดับขั้นตอนที่ 3 ขั้นหาหนทางในการปรับตัว (Readjustment Stage) ความสามารถในการสื่อสารทางอารมณ์จะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยชาวต่างชาติมีอารมณ์ที่สะท้อนถึง ความสนใจที่จะลองรับประทานอาหารไทยเพิ่มขึ้นมากที่สุด เช่นเดียวกับความสามารถในการ สื่อสารทางความคิด ในด้านความเข้าใจบรรทัดฐานและความเชื่อทางวัฒนธรรมของคนไทย ด้าน ความสามารถในการสื่อสารทางการปฏิบัติ ด้านของการทำงานร่วมกับคนไทย ซึ่งมีคา่ เฉลี่ยเพิ่มขึ้น มากที่สุด ส่วน ผู้ที่อยู่ในระดับขั้นตอนที่ 4 ขั้นที่สามารถหาทางออกให้กับการปรับตัวได้แล้ว (Resolution Stage) เป็นจุดที่ความสามารถทางการสื่อสารเกิดจุดสมดุลมากที่สุดระหว่างความสามารถในการ สื่อสารทางความคิด ความสามารถในการสื่อสารทางอารมณ์ และความสามารถในการสื่อสารทางการปฏิบัติ
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: การสังสรรค์ทางวัฒนธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ช่องทางการสื่อสาร--การศึกษาเฉพาะกรณี
การปรับตัวทางสังคม--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): บุญเลิศ ศุภดิลก
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/686
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
tachcha_witta.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback