DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/659

Title: ความคาดหวังของประชาชนในการปฏิรูปสื่อ
Authors: อาจารี ประทุมมา
Keywords: ปฏิรูปสื่อ
คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน
คพส.
สื่อมวลชน
สื่อสารมวลชน
สื่อมวลชนกับสังคม
รายงานข่าว
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิ่งที่ประชาชนต้องการให้สื่อเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นการปฏิรูปสื่อ และศึกษาสิ่งที่ประชาชนต้องการให้สื่อเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นการปฏิรูปสื่อ มีความสอดคล้องหรือไม่อย่างไรกับการปฏิรูปสื่อภายใต้กรอบของคณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน “คพส.” ซึ่งจัดโดยองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข่าว 4 องค์กร ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้คำถามหนึ่งคำถาม (One-Question Survey) เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนทั่ว ๆ ไป โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้หนึ่งคำถาม (One-Question Survey) ซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดที่สอบถามความคาดหวังจากการปฏิรูปสื่อว่า “หากต้องปฏิรูปสื่อคุณคาดหวังให้สื่อเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดมากที่สุด?” ผู้วิจัยได้แยกข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สื่อที่นำเสนอเนื้อหาที่เป็นข่าว (News Media) และสื่อที่นำเสนอเนื้อหาที่ไม่ใช่ข่าว (Non-News Media) แล้วนำมาแยกประเภทข้อมูลของทั้งสองส่วน โดยแบ่งกลุ่มตามประเภทของเนื้อหา นำมาวิเคราะห์ความสอดคล้องโดยอ้างอิงกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปสื่อที่ได้จากการศึกษาของคณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน หรือ คพส. ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การก่อตั้งคณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน หรือ คพส. เป็นความพยายามในการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพสื่อมวลชนที่เกิดจากการรวมตัวกันขององค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการผลิต “ข่าว” ในขณะที่ความสนใจของประชาชนอีกกว่าครึ่งต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาสาระประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ข่าว รวมทั้งขยายกรอบคำว่า “สื่อมวลชน” ไปยังคำว่า “สื่อ” อื่น ๆ ที่อาจไม่ใช่สื่อมวลชนในความหมายเดิม นอกจากนี้ คพส. ยังให้ความสนใจในการส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพสื่อมวลชนเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่ บุคลากร การกำกับดูแลตนเอง การกำกับดูแลจากภาคประชาชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่า สื่อมวลชนให้ความสนใจแก้ไขหรือพัฒนาเชิงโครงสร้างและบริบทแวดล้อมการทา งานของสื่อมวลชน มากกว่าประเด็นรายละเอียดในการทำงาน และผลผลิตจากการทำงาน ในขณะที่ประชาชนในฐานะผู้รับสารสนใจในแง่ผลผลิตสื่อที่บริโภครายวัน ในแง่ความชอบ ความไม่ชอบความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของสื่อที่บริโภค สิ่งที่ประชาชนต้องการให้เปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ “คุณภาพ” ของข่าวและการทำข่าว ซึ่งสอดคล้องกับหลักการทำงานในวิชาชีพวารสารศาสตร์ ประชาชนมีความเข้าใจในหลักความเป็นอิสระของสื่อมวลชน การทำงานที่ปราศจากการควบคุมจากรัฐ แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลไกภาคประชาชนไม่มีการระบุถึงในส่วนนี้เลย นั่นหมายถึงว่าประชาชนอาจยังไม่รู้จัก “สิทธิ” ของประชาชนในอันที่จะตรวจสอบสื่ออีกทางหนึ่งก็ได้ ซึ่งกลไกการตรวจสอบสื่อภาคประชาชนถือเป็นกลไกตัวหนึ่งในการรับผิดชอบของสื่อมวลชนที่มีต่อสังคม
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: สื่อมวลชน--การปฏิรูป--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/659
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
arjaree_prat.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback