DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/645

Title: การวิเคราะห์ยอดขายสินค้าเบเกอรี่ โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ กรณีศึกษา : บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
Authors: อรุณี คงอนุรักษ์กุล
Keywords: เบเกอรี่
การขาย
ยอดขายสินค้า
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมกับ ยอดขายสินค้าสำเร็จรูปทั้ง 5 รายการ 2) เพื่อวางแผนการสั่งซื้อสินค้าสำเร็จรูปทั้ง 5 รายการจาก เทคนิคการพยากรณ์ข้างต้น สินค้าที่นำมาทำการวิจัยเป็นสินค้าสำเร็จรูปที่ซื้อจากผู้ผลิตมี 5 รายการ ได้แก่ ฟรุตพาย สับปะรด ฟรุตพายสตรอเบอร์รี่ ฟรุตพายบลูเบอร์รี่ พายกรอบรสเนยและพายกรอบรสงา โดยนำ ข้อมูลยอดขายสินค้าสำเร็จรูปทั้ง 5 รายการ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2550 ถึงเดือน กันยายน 2552 มาทำ การวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างข้อมูลยอดขายสินค้าแบบที่ไม่ได้ปรับข้อมูลเชิงฤดูกาล โดยใช้วิธี ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก วิธีปรับเรียบเอ๊กซ์โปเนนเชียลและ วิธีวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น กับ ข้อมูลยอดขายสินค้าแบบที่ปรับข้อมูลเชิงฤดูกาลแล้ว โดยใช้วิธี ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก วิธีปรับเรียบเอ๊กซ์โปเนนเชียลและ วิธีวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น เพื่อหาค่า MAD ที่น้อยที่สุดที่จะทำให้ได้รูปแบบการพยากรณ์ที่ เหมาะสมที่มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ผลการวิจัยพบว่า ฟรุตพายสับปะรด ฟรุตพายสตรอเบอร์รี่และฟรุตพายบลูเบอร์รี่ ก่อนการ ปรับด้วยค่า Seasonal Index วิธีการพยากรณ์โดยวิธีวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นจะให้ค่า MAD น้อย ที่สุด คือ 24,388.13, 19,554.87 และ 19,510.43 ตามลำดับ แต่หลังจากนำค่า Seasonal Index มา ปรับค่ากับข้อมูลยอดขายโดยใช้วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก วิธีปรับเรียบเอ๊กซ์โปเนนเชียลและวิธีวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น พบว่าวิธีการพยากรณ์โดยวิธี ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่ายเฉลี่ยทุก 9 เดือนจะให้ค่า MAD น้อยที่สุด คือ 11,592.67, 10,126.42 และ 9,787.33 ตามลำดับ ส่วนรายการพายกรอบรสเนยและพายกรอบรสงา พบว่าทั้งก่อนและหลังการ ปรับด้วยค่า Seasonal Index วิธีการพยากรณ์โดยวิธีปรับเรียบเอ๊กซ์โปเนนเชียล แบบที่ 3 ที่ ค่า a= 0.8 จะให้ค่า MAD น้อยที่สุด ก่อนปรับค่า Seasonal Index คือ 111,260.63 และ101,970.55 ตามลำดับ และหลังปรับค่า Seasonal Index เท่ากับ 77,832.79 และ 78,461.67 ตามลำดับ จากผลการวิจัยพบว่าสินค้าสำเร็จรูปทั้ง 5 รายการ เมื่อนำค่า Seasonal Index มาปรับค่า ทำให้ได้ ค่า MAD ที่น้อยลงเมื่อเปรียบเทียบค่า MAD ก่อนการปรับค่า Seasonal Index ทำให้ผลการ พยากรณ์ของสินค้าทั้ง 5 รายการ มีความคลาดเคลื่อนลดลง สินค้าสำเร็จรูปทั้ง 5 รายการมีอิทธิพล ของฤดูกาล คือยอดขายของฟรุตพายทั้ง 3 รายการจะมียอดขายสูงในเดือนสิงหาคมของปี 2551 และปี 2552 ซึ่งเป็นเทศกาลวันแม่ ส่วนพายกรอบรสเนยและพายกรอบรสงามียอดขายสูงในเดือน ตุลาคมของปี 2550 และปี 2551 ซึ่งเป็นเทศกาลกินเจ
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: พยากรณ์การขาย--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การซื้อสินค้า--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเลือกซื้อสินค้า--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
พยากรณ์การขาย--การศึกษาเฉพาะกรณี
เบเกอรี--การตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี
การซื้อสินค้า--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเลือกซื้อสินค้า--การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): สิทธิพร พิมพ์สกุล
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/645
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
arunee_kong.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback