DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/607

Title: โครงการศูนย์ฝึกและพัฒนาศิลปะการแสดง
Other Titles: "Idol academy star coaching" Preforming art center model Case study
Authors: ฐิติวรรณ มหาวิจิตร
Keywords: ศิลปะการแสดง
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: จากผลการศึกษาของโครงการพบว่า สถาพแวดล้อมของตลาดส่งเสริมให้ธุรกิจสถาบัน สอนศิลปะการแสดงมีความสามารถในการเติบโตอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นธุจกิจที่รัฐบาลให้ความ สนใจและสนับสนุนตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดยใช้เป็นนโยบายใน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสร้างความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนโดยเริ่มต้นที่การพัฒนา “คน” อันเป็น กำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ซึ่งสถาบันสอนศิลปะการแสดงที่ได้รับความสนใจจาก ผู้เรียนได้นั้นต้องพัฒนาหลักสูตรหลากหลายเจาะจงสู่อาชีพในวงการบันเทิง เพื่อใช้ในการประกอบ อาชีพได้จริงในอนาคต โดย“ศูนย์ฝึกและพัฒนาศิลปะการแสดง” มีวางแผนอย่างเป็นรูปธรรมใน การเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจการแสดงในประเทศและต่างประเทศ มีการทำสัญญาจัดหางานแสดง ให้กับบริษัทต่างๆที่เป็นพันธมิตรที่ต้องการนักแสดงหน้าใหม่จำนวนมากในแต่ละปี เพื่อเป็นขยาย ช่องทางในการสร้างงานให้ผู้เรียนให้มีความต่อเนื่องและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน ในด้านสถานที่ตั้ง ศูนย์ฯ อยู่ใจกลางเมือง มีรถประจำทาง ใกล้รถไฟฟ้ามหานคร ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ห้องเรียนที่ ได้มาตราฐาน บรรยากาศเอื้อต่อการเรียน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โลโก้ การตกแต่ง ชื่อสถาบันที่สื่อ ความหมายให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้ชัดเจน ประกอบการใช้คณาอาจารย์ผู้สอนที่เป็นดารานักแสดง ที่ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงในวงการบันเทิงเป็นบุคคลกรที่มีคุณภาพด้านการแสดงแขนงต่างๆ และมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนนโยบายให้เข้ากับสถานะการณ์ ขณะนั้น เพื่อทำให้ศูนย์ฯมี ความสามารถในการแข่งขันในตลาด สามารถเข้าตลาดได้และอยู่รอดได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้ในการประกอบธุรกิจสถาบันฝึกอบรมศิลปะการแสดงมีคู่แข่งเกิดขึ้นมากจะต้องอาศัย ปัจจัยเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จหลายประการในการดำเนินกิจการโดยเฉพาะการบริหารความเสี่ยงที่ต้อง มีความพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของทั้ง ความคาดหวังของผู้เรียน การค้นหาความสนใจของ ตลาดอยู่เสมอ การขยายการสอนด้วยนวัตกรรมใหม่ในการเรียนการสอน ใช้ต้นทุนและทรัพยกร อย่างคุ้มค่าเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงความร่วมมือภาคทางธุรกิจบันเทิงและสถานศึกษา รวมไปถึงสินค้าและบริการที่ต้องการความรู้ด้านศิลปะการแสดงที่ช่วยสนับสนุนให้ ศูนย์ฯ สามารถ มีทั้งงานให้กับผู้เรียนและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง ตามแผนที่ได้วางไว้
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (นศ.ม.)--สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: สถานฝึกอบรมและฝึกอาชีพ--การจัดการ--วิจัย
ศิลปะการแสดง--วิจัย
นักแสดง--การฝึกอบรม--วิจัย
ธุรกิจบันเทิง--วิจัย
การจัดการธุรกิจ--วิจัย
Advisor(s): พรรัตน์ ดำรุง
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/607
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
titiwan_maha.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback