DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/602

Title: สื่อมวลชนกับความคาดหวังในวิชาชีพ และความต้องการที่มีต่อโครงการพัฒนาบุคลากร ซึ่งจัดโดยสมาคมวิชาชีพ
Authors: กานต์ เชาวน์นิรัติศัย
Keywords: ความคาดหวัง
วิชาชีพสื่อมวลชน
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความคาดหวังของบุคลากรสื่อมวลชนที่มีต่อวิชาชีพสื่อมวลชน และศึกษาถึงความต้องการของบุคลากรสื่อมวลชนที่มีต่อประเด็นโครงการจัดอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร และสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการพัฒนาบุคลากร ซึ่งจัดโดยสมาคมวิชาชีพสื่อมวลชนการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ สื่อมวลชนเพศชายและหญิงจำนวน 400 คน โดยได้แบ่งสื่อออกเป็น 2 ประเภทในการกระจายแบบสอบถามได้แก่ สื่อหนังสือพิมพ์ 15 องค์กร และสื่อวิทยุโทรทัศน์ 3 องค์กร นอกจากนั้นผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)โดยให้หัวหน้าข่าวเป็นผู้กระจายแบบสอบถามให้แก่บุคลากรสื่อมวลชนในองค์กรนั้นๆ โดยแยกเป็นตำแหน่งในสัดส่วนที่แตกต่างกันซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจำนวนปริมาณบุคลากรสื่อมวลชนในแต่ละตำแหน่งงาน สำหรับการทดสอบสมมุติฐานใช้การวิเคราะห์โดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-Square Test) โดยศึกษาความสัมพันธ์แยกเป็นตำแหน่งงานต่อความคาดหวังของสื่อมวลชนที่มีต่อวิชาชีพสื่อมวลชน และความต้องการของสื่อมวลชนที่มีต่อประเด็นโครงการพัฒนาบุคลากรซึ่งจัดโดยสมาคมวิชาชีพสื่อมวลชน โดยกำหนดเกณฑ์ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านการทำงานในวิชาชีพสื่อมวลชน บุคลากรสื่อมวลชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างคาดหวังที่จะแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมทั้งคาดหวังได้ทำข่าวที่มีความสำคัญมากขึ้น ในระดับมากที่สุด 2. บุคลากรสื่อมวลชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างต้องการต่อประเด็นในโครงการฝึกอบรมทางวิชาชีพที่สามารถพัฒนาตนเองในเรื่องเทคนิคการจับประเด็น การวิเคราะห์ข่าวและสถานการณ์ที่มี ความซับซ้อน และความคิดสร้างสรรค์ในงานข่าว ในระดับมากที่สุด 3. ส่วนด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการพัฒนาบุคลากร พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการให้โครงการพัฒนาบุคลากรเรียนเฉพาะวันเสาร์หรืออาทิตย์ และจัดเวลาไม่ให้กระทบกระเทือนการทำงานในระดับมากที่สุด โดยต้องการให้สมาคมส่งจดหมายตรงถึงยังหน่วยงานต้นสังกัด นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่าเวลาที่มักไม่สอดคล้องกับ ช่วงเวลาอบรมพัฒนาเป็นอุปสรรคมากที่สุด
Subjects: สื่อมวลชน--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
การพัฒนาบุคลากร--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/602
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
karn_chaw.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback