DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5552
|
Title: | ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดความรับผิดทางแพ่งของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเปรียบเทียบกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ระหว่างประเทศไทย สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐสิงคโปร์ |
Other Titles: | Legal problem on civil liability of the data controller whose operation in relation to personal data breach: A comparative study on personal data protection law of Thailand the United of Kingdom and Republic of Singapore |
Authors: | ณชารีญา บุญประเสริฐ |
Keywords: | เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | ปัจจุบันประเทศไทยพบการกระทำละเมิดทางเทคโนโลยีซึ่งเป็นปัญหาก่อกวน สร้างความเดือดร้อน กระทบต่อความเป็นส่วนตัว บางกรณีร้ายแรงถึงขั้นเป็นมิจฉาชีพทำให้เสียหายถึงทรัพย์สิน รัฐบาลไทยจึงมีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นมาเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานความเป็นส่วนตัวของประชาชนและเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิดทั้งทางอาญา โทษปรับทางปกครอง ตลอดจนให้สิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล คือ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หากกระทำการฝ่าฝืนหรือแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบด้วยกฎหมายจนทำให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอาจได้รับความเสียหาย
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องรับผิดในทางแพ่ง ซึ่งกฎหมายไม่ได้ระบุถึงพฤติการณ์ใดบ้างที่ศาลจะนำมาเป็นหลักเกณฑ์กำหนดค่าเสียหายให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า ควรนำกฎหมายของต่างประเทศและคำพิพากษารวมถึงกฎหมายของไทยที่มีเรื่องการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเชิงลงโทษมาวิเคราะห์จึงได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ห้าประการ ดังนี้ 1) เจตนาของผู้ควบคุม 2) ประเภทของข้อมูล 3) อาจเกิดความเสียหาย 4) ความสัมพันธ์ระหว่างผลและการกระทำ 5) ข้อยกเว้นที่มีการตราไว้ไม่ให้ต้องรับผิด ด้วยลักษณะกระทำละเมิดมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เห็นควร นำหลักการกำหนดค่าปรับทางปกครองของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญและเงื่อนไขค่าปรับทางปกครองของสหภาพยุโรปมาปรับใช้ร่วมด้วยอีกสามประการ คือ 1) ขนาดกิจการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล 2) เจ้าของข้อมูลได้รับผลประโยชน์จากโทษปรับทางปกครองไปด้วยหรือไม่ 3) ประวัติการกระทำละเมิดของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการกระทำละเมิดลักษณะเดียวกัน เพื่อให้ศาลกำหนดค่าเสียหายได้ง่ายขึ้น เมื่อนำหลักเกณฑ์ทั้ง 8 ประการ มาใช้ร่วมกัน เมื่อเป็นการจงใจหรือแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบด้วยกฎหมายเห็นควรให้ศาลกำหนดค่าสินไหมในเชิงลงโทษเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าได้ทันที Nowadays, Thailand has committed technological offences, causing annoyance problem, breach of privacy. Some Case, who is criminal defraud, or for obtaining money or property. Thailand enacted the Personal Data Protection Act to protect the privacy rights of citizens and increase penalties for criminal offenders. administrative fine as well as giving the right to the owner of personal data to have the right to sue for Damages, the data controller shall have the following duties collect, use, disclose personal data. If the data controller, whose operation in relation to personal data violates or commit an act to dishonestly. Which cause Damages to the data subject, shall compensate the data subject. However law does not specify how to determine Damages for data breach, Researcher should be foreign laws and judgments, including Thai laws that have provisions on the determination of punitive compensation, that concluded with five principles. but the data breach about technologies have to adopt determining the administrative fines of the expert committee three principles for the Data Controller to pay punitive Damages in addition to the actual compensation rendered shall not exceeding two times of such actual compensation amount. |
Description: | การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--สาขาวิชากฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2565 |
Advisor(s): | ศิริชัย มงคลเกียรติศรี ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5552 |
Appears in Collections: | Independent Studies Independent Studies - Master
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|