DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/548

Title: การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ประเภทปะเก็นโดยใช้แนวคิดการดำเนินกิจกรรมคิวซีเซอร์เคิล (QC circle)
Authors: อภิชญ์ สุวรรณราช
Keywords: กระบวนการผลิต
ชิ้นส่วนรถยนต์
กิจกรรม QC
คิวซีเซอร์เคิล
Issue Date: 2553
Publisher: มหาิวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาการดำเนินกิจกรรมคิวซีเซอร์เคิล (QC Circle) ของกลุ่มมดงาน 5 โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมและเพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพใน กระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ประเภทปะเก็นโดยกิจกรรมคิวซีเซอร์เคิล (QC Circle) และได้ ดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนของคิวซีสตอรี่ (QC Story) 7 ขั้นตอนด้วยกัน 1. การค้นหาปัญหาและคัดเลือกหัวข้อ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตของชิ้นงาน SAT- 42443-55020-B และได้เลือกปัญหาที่จะทำการแก้ไขปรับปรุงเรื่อง ลดปัญหาเศษวัตถุดิบ SAT- 42443-55020-B ตกลงที่พื้นที่ปฏิบัติงาน 2. การสำรวจสภาพปัจจุบันและกำหนดเป้าหมาย ปัจจุบันใช้เวลาในการทำความสะอาด เฉลี่ย 11.5 นาทีต่อวัน ปริมาณเศษวัตถุดิบตกที่พื้นที่เฉลี่ย 26.52 กิโลกรัมต่อวัน และกำหนด เป้าหมาย 1. ต้องการลดเวลาการทำความสะอาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 50 % 2. ต้องการลดปริมาณเศษ วัตถุดิบตกลงที่พื้นไม่น้อยกว่า 90 % 3. การวางแผนการดำเนินกิจกรรม กำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 1 กันยายน 2552 ถึง 27 พฤศจิกายน 2552 โดยมีการดำเนินการตามขั้นตอนของคิวซีสตอรี่ (QC Story) 4. การวิเคราะห์หาสาเหตุ โดยใช้แผนผังแสดงเหตุและผล โดยจำแนกสาเหตุตาม แหล่งกำเนิด คน เครื่องจักร วิธีการ วัตถุดิบ และสิ่งแวดล้อม (4M 1E) เพื่อแก้ไขปัญหาเศษวัตถุดิบ ตกที่พื้นที่ปฏิบัติงาน 5. การวางแผนการแก้ไขและการปฏิบัติการตามมาตรการการแก้ไข ได้มีการมอบหมายแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกำหนดเวลาในการจัดทำและการติดตั้งอุปกรณ์ 6. การตรวจสอบผลและประเมินผลการแก้ไข การสำรวจสภาพหลังการปรับปรุงใช้เวลาใน การทำความสะอาดเฉลี่ย 4.55 นาทีต่อวัน ปริมาณเศษวัตถุดิบตกที่พื้นที่เฉลี่ย 1.7 กิโลกรัมต่อวัน การเปรียบเทียบพบว่าก่อนการปรับปรุงใช้เวลาทำความสะอาดพื้นที่เฉลี่ย 11.5 นาทีต่อวันและหลังจากทำการปรับปรุงแล้วใช้เวลาทำความสะอาดพื้นที่เฉลี่ย 4.55 นาทีต่อวัน ดังนั้นเวลาในการทำความสะอาดพื้นที่ปฏิบัติงานลดลงจากเดิม 60.43 % การเปรียบเทียบพบว่าก่อนการปรับปรุงปริมาณเศษวัตถุดิบตกลงที่พื้นที่เฉลี่ย 26.52 กิโลกรัมต่อวัน และหลังจากทำการปรับปรุงปริมาณเศษวัตถุดิบตกลงที่พื้นที่เฉลี่ย 1.7 กิโลกรัมต่อวัน ดังนั้นจำนวนเศษวัตถุดิบตกที่พื้นที่ปฏิบัติงานลดลงจากเดิม 93.59 % 7. การกำหนดมาตรฐาน ลงในคู่มือการปฏิบัติงานและอบรมพนักงานเกี่ยวกับขั้นตอนการ ปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องและปลอดภัย ผลจากการดำเนินการพบว่าลดเวลาในการทำความสะอาดพื้นที่ปฏิบัติงานจากเดิม 60.43 % และลด ปริมาณเศษวัตถุดิบตกที่พื้นที่ปฏิบัติงานลงจากเดิม 93.59 %
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์--การควบคุมการผลิต--การศึกษาเฉพาะกรณี
การควบคุมกระบวนการผลิต--การศึกษาเฉพาะกรณี
รถยนต์--ชิ้นส่วน--การผลิต--การศึกษาเฉพาะกรณี
ปะเก็น--การผลิต--การศึกษาเฉพาะกรณี
กลุ่มสร้างคุณภาพงาน--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
การควบคุมคุณภาพ--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารงานแบบญี่ปุ่น--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): สิทธิพร พิมพ์สกุล
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/548
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
aphit_suwa.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback