DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5406
|
Title: | คุณลักษณะของ Peer Influencers ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่นวาย (GEN Y) ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาแพลตฟอร์ม TikTok |
Other Titles: | The characteristics of Peer Influencers affecting the decision to buy fashion clothes of consumers Generation Y in Bangkok a case study of the TikTok platform |
Authors: | นลินี สุวิสุทธิ์ |
Keywords: | คุณลักษณะของ Peer Influencers การตัดสินใจซื้อ เสื้อผ้าแฟชั่น เจเนอร์เรชั่นวาย (GEN Y) |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | การศึกษาเรื่องคุณลักษณะของ Peer Influencers ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่นวาย (GEN Y) ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาแพลตฟอร์ม TikTok มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการเปิดรับข้อมูลจาก Peer Influencers ของผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยคุณลักษณะของ Peer Influencers ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภค เจเนอร์เรชั่นวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผ่านการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)
โดยการนำเสนอในรูปแบบ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลีย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้และสถิติ
เชิงอนุมาน (Inferential Statictic) โดยการนำเสนอในรูปแบบการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมประมวลผลทางสถิติสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-35 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพ พนักงานรัฐฯ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระหว่าง 25,001-35,000 บาท ส่วนใหญ่รับชมการรีวิวของ Peer Influencers อยู่ที่สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 28.0 และช่องทางออนไลน์ที่ติดตาม Peer Influencers เป็นประจำส่วนใหญ่ คือ Facebook รองลงมา คือ Tiktok ส่วนจำนวนครั้งในการตัดสินใจซื้อสินค้าตาม
รีวิวของ Peer Influencers ในรอบ 12 เดือน หรือ 1 ปี พบว่า ส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อสินค้าตามรีวิวของ Peer Influencers จำนวน 5-6 ครั้ง ในรอบ 12 เดือน หรือ 1 ปี ส่วนระดับปัจจัยด้านคุณลักษณะของ Peer Influencer ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ อยู่ในระดับมาก ส่วนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่นวายอยู่ในระดับมากเช่นกัน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยด้านความดึงดูด ด้านความไว้วางใจ ด้านความชำนาญเชี่ยวชาญ ด้านความเคารพ ด้านความเหมือนกับกลุ่ม เป้าหมายมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่นวาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 A study on the characteristics of peer influencers affecting the decision to
buy fashion clothes. Of consumers Generation Y (GEN Y) in Bangkok a case study
of the TikTok platform aims 1) to study the factors of information exposure from
Peer Influencers of Generation Y consumers. In Bangkok 2) to study the characteristics
of Peer Influencers that affect the decision to buy fashion clothes of Generation Y consumers in Bangkok 3) To study the level of consumer's decision to buy fashion clothes. Generation Y in Bangkok this research is a quantitative research. through questionnaire data collection. The statistics used in the analysis were: Descriptive Statistics presented in the form of frequency, percentage, mean and standard deviation.
Applied and Inferential Statistics the results showed that the sample group
in the study found that Most of the 400 respondents were female. Aged between
18-35 years old, have a bachelor's degree, work as a government employee with
an average monthly income between 25,001-35,000 baht. The majority of them watched reviews of Peer Influencers at 2-3 times a week, representing 28.0 percent, and most of the online channels that regularly followed Peer Influencers were Facebook, followed by Tiktok. Reviews of Peer Influencers in the past 12 months
or 1 year found that most of them make a purchase decision based on Peer Influencers reviews 5-6 times in the past 12 months or 1 year. At a high level as
for the decision to buy fashion clothes of Generation Y consumers, it was also at
a high level. Hypothesis test results found that the attraction factor Trust Expertise
Respect Similarity to the target group affecting the decision to buy fashion clothes
of Generation Y consumers. Statistically significant at the 0.05 level. |
Description: | การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2565 |
Subjects: | เสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อผ้าสตรี -- การศึกษาเฉพาะกรณี การขาย -- เสื้อผ้าสตรี การสื่อสารทางการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค การตลาดอินเทอร์เน็ต |
Advisor(s): | สุมนา ธีรกิตติกุล |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5406 |
Appears in Collections: | Independent Studies Independent Studies - Master Independent Studies
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|