DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5261
|
Title: | ปัญหาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัว (NFT: Non-Fungible Token) |
Other Titles: | Problem of copyright protection on NFT (Non-Fungible Token) |
Authors: | อลงกรณ์ วรรณธะนะ |
Keywords: | การคุ้มครองลิขสิทธิ์ สินทรัพย์ดิจิทัล งานสร้างสรรค์ประเภทดิจิทัล งานศิลปะ สัญญาอัจฉริยะ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยปัญหาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทดิจิทัล โดยเฉพาะงานสร้างสรรค์ประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัว (NFT) และแนวทางกฎหมายที่เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ประเภทดังกล่าวโดยศึกษาประเด็นทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นภายใต้กรอบของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2565) พร้อมทั้งศึกษาแนวทางการคุ้มครองงานดังกล่าวในกรณีที่อาจจะเกิดปัญหาเกิดขึ้นได้
จากการวิจัยพบว่า งานสร้างสรรค์ประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัว (NFT) เป็น
งานสร้างสรรค์ที่คาบเกี่ยวกันระหว่างงานศิลปะและงานดิจิทัล โดยเป็นการนำเอางานศิลปะเข้าสู่
ระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล (Digital File) ซึ่งพบปัญหา 3 เด็นที่เป็นสำคัญ คือ 1) ปัญหา
เรื่องสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ที่ไม่ได้กำหนดขอบเขตเรื่องสิทธิในงานสร้างสรรค์ระหว่างผู้สร้างสรรค์กับผู้ซื้อไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นสัญญาสำเร็จรูปไม่สามารถแก้ไขได้ 2) ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์
ในงานสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัว (NFT) 3) ปัญหาความรับผิดชอบของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์โดยผู้ใช้บริการที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์
ทั้งนี้ มีข้อเสนอของการวิจัย คือ ควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตราการทางกฎหมายที่ให้มีการคุ้มครองงานงานสร้างสรรค์ประเภทดิจิทัล โดยเฉพาะงานสร้างสรรค์ประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเป็นสินทรัพย์เฉพาะตัว (NFT) ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อให้มีประสิทธิภาพให้มีความเหมาะสมกับยุคเทคโนโลยีปัจจุบัน The purpose of this research is to study the problems of copyright protection in digital creative works, in particular, the creative work of unique digital assets (NFT) by studying the legal issues that may arise under the Copyright Act B.E. 2537 (Amendment No. 5, B.E. 2565), as well as studying the guidelines for protecting such works in case of problems that may arise.
This research found that unique digital asset (NFT) is the creative work that overlap between art and digital work by bringing art into the computer system in the form of a digital file (Digital file). Accordingly, it was found that there were 3 important issues including; 1) The issue of smart contracts that does not clearly define the boundaries of creative rights between the creator and the buyer; 2) The problems of infringement of unique digital assets (NFT); and 3) The liability of the Internet Service Provider (ISP) in case of copyright infringement by the user through the computer system with copyright infringement through a computer system.
In this regard, the research suggested that legal measures for protecting digital creative works should be amended. Particularly, creative works of digital assets as a unique asset (NFT) in the Copyright Act B.E. 2537 to be effective and suitable for the current technology era. |
Description: | การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--สาขาวิชากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2564 |
Advisor(s): | อรรยา สิงห์สงบ กริชผกา บุญเฟื่อง |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5261 |
Appears in Collections: | Independent Studies Independent Studies - Master Independent Studies - Master
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|