|
DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5155
|
Title: | การสร้างแบรนด์บุคคลบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก (TikTok Application) ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทสกินแคร์ของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตธนบุรี |
Other Titles: | Personal branding on the TikTok app effect to purchasing decisions about skincare product of population boundaries living in Thonburi, Thailand |
Authors: | สุพรรณวดี กลัดทิม |
Keywords: | แอปพลิเคชันติ๊กต๊อก การสร้างตัวตน |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการสร้างแบรนด์บุคคลบนแอปพลิเคชัน
ติ๊กต๊อก (TikTok Application) ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทสกินแคร์ ของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ เขตธนบุรีโดยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยบริเวณพื้นที่เขตบางกอกใหญ่และเขตบางกอกน้อย ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเขตการปกครองซึ่งวิธีการใช้การแจกแบบสอบถามจำนวน 404 ชุด ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะ พฤติกรรม (ความถี่) การเปิดรับสื่อและทัศนคติ ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-30 ปี ระดับการ ศึกษาส่วนใหญ่จบปริญญาตรี มีสถานภาพโสด รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 15,000-25,000 บาท ประกอบอาชีพ พนักงานบริษัทเอกชน มีความชื่นชอบเจ้าของแบรนด์หรือแม่ค้าออนไลน์ที่มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โดยเลือกติดตามเจ้าของแบรนด์หรือแม่ค้าออนไลน์ ที่ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับการให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และไลฟ์สไตล์ของตนเอง นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังมีการตัดสินใจซื้อสินค้า จากการสร้างแบรนด์บุคคลให้มีตัวตนบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก (TikTok Application) ทำให้เกิดความเชื่อถือ และส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทสกินแคร์ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความชื่นชอบ จำนวนผู้ติดตาม และการสร้างแบรนด์บุคคลบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก (TikTok Application) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทสกินแคร์ เนื่องจากการสร้างคอนเทนต์ที่ตรงกับความต้องการของกลุ่ม เป้าหมาย จะทำให้กลุ่มเป้าหมายชื่นชอบ และเลือกติดตาม โดยหากแม่ค้าออนไลน์หรือเจ้าของแบรนด์สร้างคอนเทนต์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในจำนวนมาก ก็จะส่งผลให้เกิดความชื่นชอบและผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มีตัวตนบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก (TikTok Application)
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า เนื่องจากการมีชื่อเสียงส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ The objective of this research was to study how Personal branding on the TikTok application influences the purchasing of skin care goods by the people who live in the Thonburi area. This was a quantitative study that employed questionnaires to collect data from residents of Bangkok-Yai and Bangkok-Noi, who comprised the sample group. Subdivision sampling was used to distribute the 404 questionnaires.
In the data analysis, descriptive statistics such as number, percentage, mean, and standard deviation were used to describe behavioral, characteristics, frequency, responsive to media, and attitude impacting product purchasing choice.
According to the findings of the study, most of the samples were female,
aged 25 to 30 years old, with a bachelor's degree, single status, a monthly salary
of approximately 15,000 to 25,000 baht, working as a private firm employee, and a preference for a brand owner or an internet merchant with product knowledge.
They prefer to follow brand owners or online merchants that create material regarding product knowledge and their own lives. Furthermore, the sample made a purchasing choice, from building a Personal brand to developing an identity on the TikTok Application, trust has been developed and impacts the decision to purchase skin care items. The hypothesis testing results showed that the number of likes, followers, and Personal branding on the TikTok Application influence the decision to purchase skin care goods because providing content that meets the demands of the target audience leads to the target audience liking and choosing to follow. Because once online merchants or brand owners create content that has the potential to reach many target groups, they will earn many likes and follows. Since the incorporation of audio media has a negative influence on credibility, it seems on the TikTok Application that these things lead to buy selections till you become renowned. |
Description: | การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2564 |
Subjects: | การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์ ชื่อตราผลิตภัณฑ์ การจัดการโฆษณา สื่อสังคมออนไลน์ โฆษณา -- ชื่อตราผลิตภัณฑ์ การจัดการตลาด การสื่อสารทางการตลาด ครีมถนอมผิว |
Advisor(s): | สุมนา ธีรกิตติกุล |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5155 |
Appears in Collections: | Independent Studies - Master Independent Studies
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|