DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4954

Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการรับชมเนื้อหาโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของวัยรุ่นเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The relationship between exposure to social media advertisements and purchasing decisions of facial care products by female adolescents in Bangkok
Authors: ณิชกานต์ วระศิษฐ์
Keywords: การรับชมเนื้อหาโฆษณา
สื่อสังคมออนไลน์
การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างการรับชมเนื้อหาโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของประชาชนวัยรุ่นเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับชมเนื้อหาโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของประชาชนวัยรุ่นเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของประชาชนวัยรุ่นเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับชมเนื้อหาโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของประชาชนวัยรุ่นเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของเนื้อหาด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha โดยมีกลุ่มตัวอย่างมี จำนวน 30 คน ได้ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ .938 และได้ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่นเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร ที่รับชมเนื้อหาโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 138 คน และใช้วิธีการทางสถิติ 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งประกอบด้วย ค่าร้อยละ สัดส่วน อัตราส่วนค่าเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สาหรับใช้อธิบายข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกัน สำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับชมเนื้อหาโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของประชาชนวัยรุ่นเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างของการรับชมเนื้อหาโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีช่วงอายุ 19 ปี มากที่สุด จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 30.4 และมีระดับการศึกษาสูงสุด คือ ระดับมัธยมปลายมากที่สุดจำนวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 57.2 ส่วนใหญ่มีอาชีพนักเรียนมากที่สุด จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 95 มีรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท มากที่สุด จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 43.5 โดยประชาชนวัยรุ่นเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร มีการรับชมเนื้อหาโฆษณาเกี่ยวกับซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่าน Facebook อยู่ในระดับสูงมาก มีการรับชมเนื้อหาโฆษณาเกี่ยวกับซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่าน Youtube อยู่ในระดับสูง มีการรับชมเนื้อหาโฆษณาเกี่ยวกับซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่าน Line มีการรับชมเนื้อหาโฆษณาเกี่ยวกับซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่าน Instagram อยู่ในระดับสูง และมีการรับชมเนื้อหาโฆษณาเกี่ยวกับซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่าน Twitter อยู่ในระดับสูง นอกจากนั้น ผลวิจัยยังพบว่า ประชาชนวัยรุ่นเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานครมีการรับชมเนื้อหาโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทั้ง 5 ช่องทางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกด้าน โดยประชาชนวัยรุ่นเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์ระหว่างการรับชมเนื้อหาโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
“The Relationship between Social Media Exposure and the Purchasing Decisions of Bangkok Female Adolescents in Skincare Products” aimed to study the effect of social media content viewing on the facial care purchases made by Bangkok adolescent females. This research was a quantitative research using questionnaires as a tool to collect data to test the validity and reliability tests used in this study with Cronbach’s Alpha reliability level of .938 from 30 participants contribution. The questionnaire surveyed 138 female adolescents in Bangkok who viewed advertising content through social media and used 2 types of statistical methods. The first statistical method is descriptive statistics, which consists of percentage, proportion, average ratio, and standard deviation to describe the general information of the respondents. The second statistical method is inferential statistics, which includes Pearson's correlation to find the relationship of two independent variables. These two statical methods analyze the relationship between social media content viewing and purchasing decision of skincare products for adolescent females in Bangkok. The result of this study found that Social Media Exposure. There are 42 people the high age range is 19 representing 30.4%. There are 79 people whose highest level of education are high school representing 57.2%. There are 95 people who are student which represent 95%. The 60 people who have average monthly incomes are 5,000 THB or more represent 43.5 %. Adolescent females in Bangkok highest level had Social Media Exposure of skincare products on Facebook. Social Media Exposure of skincare products on YouTube is high level. Social Media Exposure of skincare products by Line and Instagram are high level. And Social Media Exposure of skincare products on Twitter is high level. The result of this study found that Social Media Exposure and the Adolescent females in Bangkok of Skincare Products all of five social media was not statistically equals to .05 level in all aspects. Adolescent females in Bangkok had a statistically significant relationship between Social Media Exposure and the Purchasing in Skincare Products was statistically equals to 0.01 level.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2563
Subjects: ครีมถนอมผิว
พฤติกรรมผู้บริโภค
การจัดการโฆษณา
สื่อสังคมออนไลน์
ผู้บริโภคสตรี
การสื่อสารทางการตลาด
Advisor(s): พงศ์ณัชชัช กนกงามวิทโรจน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4954
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
nichakarn_wora.pdf6.27 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback