DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4946
|
Title: | การยอมรับเทคโนโลยี ความเป็นเอกลักษณ์ และการรับรู้ความเสี่ยง ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชั่น TikTok |
Other Titles: | Technology Adoption, Uniqueness and Perceived Risks Affecting Decision-making to Use the TikTok Application |
Authors: | เกียรติภูมิ นาควรรณกิจ |
Keywords: | แอปพลิเคชั่นTikTok การยอมรับเทคโนโลยี ความเป็นเอกลักษณ์ การรับรู้ความเสี่ยง การตัดสินใจ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยี ความเป็นเอกลักษณ์และการรับรู้
ความเสี่ยง ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชั่น TikTok ประชากรในการศึกษา คือ ผู้ใช้งาน
แอปพลิเคชั่น TikTok และใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมตัวข้อมูลจำนวน 185 ตัวอย่าง
โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สมการถดถอยหหุ (Multiple Regression Analysis)
จากการวิจัย พบว่า การยอมรับเทคโนโลยีแอพพลิเคชั่น TikTok ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ที่สุด ความเป็นเอกลักษณ์ของแอปพลิเคชั่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการรับรู้ความเสี่ยงใน
การใช้แอปพลิเคชั่นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การยอมรับ
เทคโนโลยีด้านประโยชน์ที่ได้รับ และความเป็นเอกลักษณ์ของแอปพลิเคชั่นด้านเพลง มีผลต่อการ
ตัดสินใจใช้แอปพลิเคชั่น TikTok อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่การรับรู้ความเสี่ยง
ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชั่น TikTok อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 The purpose of this study is to explore the technology adoption, uniqueness,
and perceived risks affecting decision-making to use TikTok. The samples of this study
were one hundred and eighty-five TikTok's users, using a convenient sampling
method. Online questionnaires collected the data. The data was analyzed by using
percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis.
The results reveal that overall, the acceptance of TikTok technology is at the
highest level, the uniqueness of the application is at a high level, the perceived risk
of using the application is at a high level. The hypothesis testing results showed that
the technology adoption of the benefits and the uniqueness of the music application
had a statistically significant effect on the decision to use the TikTok app was
statistically significant at 0.05 level. However, the perceived risk did not significantly
affect the decision to use TikTok was statistically significant at 0.05 level. |
Description: | การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)-บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2564 |
Subjects: | สื่อสังคมออนไลน์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ พฤติกรรมผู้บริโภค ความพอใจของผู้ใช้บริการ เทคโนโลยีสตรีมมิง (โทรคมนาคม) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- การศึกษาอิสระ |
Advisor(s): | ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4946 |
Appears in Collections: | Independent Studies - Master Independent Studies
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|