DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4895

Title: ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งานแอพพลิเคชั่นปรึกษาแพทย์ (Telemedicine Application)
Other Titles: Causal Relationship of Factors Affecting the Decision to Use the Telemedicine Application
Authors: เริงฤทธิ์ พลเหลือ
Keywords: แอพพลิเคชั่นปรึกษาแพทย์ออนไลน์
แอพพลิเคชั่น
คุณภาพระบบ
คุณภาพบริการ
การตลาดแบบปากต่อปาก
การตัดสินใจใช้งาน
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพระบบ คุณภาพบริการ และการตลาดแบบปากต่อปากที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้งานแอพพลิเคชั่นปรึกษาแพทย์ออนไลน์ โดยใช้ระเบียบวิธีเชิงปริมาณ และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ที่เป็นผู้ที่ตั้งใจใช้งานแอพพลิเคชั่นปรึกษาแพทย์ออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา โดยการการสุ่มเลือกตัวอย่างตามความสะดวก (Convenience Sampling) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อายุ 23-26 ปี สถานโสด อาชีพ พนักงานเอกชน ระดับการศึกษาปริญญาตรี และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 30,000 บาท โดยส่วนใหญ่ใช้งานแอพพลิเคชั่นในการค้นหาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา และ ข้อมูลด้านสุขภาพทั่วไป โดยที่ช่องทางในการรู้จักบริการแอพพลิเคชั่นปรึกษาแพทย์ออนไลน์จะเป็นจากอินเทอร์เน็ต จากผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้งานแอพพลิเคชั่นปรึกษาแพทย์ออนไลน์ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ คุณภาพระบบด้านความมีเสถียรภาพของระบบ คุณภาพบริการด้านการดูแลเอาใจใส่ที่ และ การตลาดแบบปากต่อปากที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
The objectives of this research are to study system quality, service quality, word of mouth affecting the decision making of consumers to use telemedicine application. Quantitative research approach was utilized to collect the data from of 400 consumers who intended to use the Telemedicine Application in past 3 months. The sampling technique used for this study was convenience sampling. Descriptive statistics and multiple regression were applied in analyzing data and testing hypotheses. The results showed that the majority of respondents were female, aged 23-26 years old, Single, private company employee, Bachelor’s degree and the average income 10,001 – 30,000 THB/month. The majority of the respondents use telemedicine application to search for doctors in order to receive treatment and health information. They know about the application from the internet. According to multiple regression analysis it was found that the factors affecting the decision to use telemedicine application include stability dimension of system quality, empathy dimension of service quality and word of mouth at significant level 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2563
Subjects: บริการทางการแพทย์
การบริหารบริการทางการแพทย์
การรักษาโรคทางอินเทอร์เน็ต
การแพทย์ -- บริการสารสนเทศ
การวางแผนธุรกิจ
พฤติกรรมผู้บริโภค
บริการทางการแพทย์ -- การจัดการ -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Advisor(s): รวิพรรณ สุภาวรรณ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4895
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
roengrit_phol.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback