DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4893

Title: การคุ้มครองงานศิลปะแบบแอ็ปโพรพริเอชันในกฎหมายลิขสิทธิ์
Other Titles: The Protection of Appropriation Art in Copyright Law
Authors: ฉัตรหทัย จันทาโภ
Keywords: ศิลปะแบบแอ็ปโพรพริเอชัน
ลิขสิทธิ์
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและลักษณะของงานศิลปะแบบแอ็ปโพรพริเอชัน โดยทำการศึกษาจากกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกาในการให้ความคุ้มครองงานศิลปะแบบแอ็ปโพรพริเอชัน และวิเคราะห์หลักการคุ้มครองงานศิลปะแบบแอ็ปโพรพริเอชันในกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อเสนอแนวทางในการคุ้มครองงานศิลปะแบบแอ็ปโพรพริเอชันในประเทศไทย ในการสร้างสรรค์งานศิลปะโดยทั่วไป หากเกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง โดยได้มีการถ่ายทอดให้ปรากฏออกมาและเป็นงานหนึ่งงานใดในจำนวน 9 ประเภทงานตามที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้กำหนดไว้ ผู้สร้างสรรค์งานย่อมเป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการอย่างไรก็ได้กับผลงานของตน แต่เนื่องจากงานศิลปะแบบแอ็ปโพรพริเอชัน เป็นงานศิลปะที่เกิดจากการหยิบยืม หรือนำองค์ประกอบอื่น ๆ นำมารวบรวม ดัดแปลงเข้าด้วยกันจนกลายเป็นงานใหม่ ซึ่งในการนำงานของบุคคลอื่นมาทำการดัดแปลงนั้น หากยังมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของอาจถือได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เว้นแต่ งานที่นำมาดัดแปลงนั้นจะสิ้นอายุความคุ้มครอง หรือ เป็นงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์มาตั้งแต่ต้น หรือ เป็นกรณีที่ผู้ดัดแปลงได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท โดยการดัดแปลงนั้นจะต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์และไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ การดัดแปลงงานดังกล่าวจึงจะไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ จากการศึกษาเรื่องของการให้ความคุ้มครองงานศิลปะแบบแอ็ปโพรพริเอชัน ของประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วจะเห็นได้ว่า ผลของการคุ้มครองจะมีลักษณะที่เหมือนกัน แต่เนื่องจากประเทศไทยมิได้ระบุข้อยกเว้นของการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้โดยชัดแจ้งแบบประเทศสหรัฐอเมริกา ในการนี้หากมีการกำหนดไว้โดยชัดแจ้งก็อาจเป็นส่วนช่วยให้ศาลไทยมีเครื่องมือที่นำมาใช้ในการพิจารณาได้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการให้ความคุ้มครองงานศิลปะแบบแอ็ปโพรพริเอชันในประเทศไทย
This study aimed to investigate meaning and feature of appropriation art based on the copyright law of Thailand and the US for protecting appropriation artwork and analyze the principle of appropriate artwork protection in foreign laws in order to recommend the means for appropriation artwork protection in Thailand. In general, creating artwork based on own opinion by assimilating it and the artwork is one of nine types of work according to Copyright Act B.E. 2537. The creator has right to proceed anything with their own work. In case the appropriation artwork is remade without permission, it violates the copyright. The artwork which is not protected by the copyright law or is remade for personal use does not violate the copyright. However, according to the study of providing appropriation art protection in Thailand and United Stated of America (US), the results of their protection were found similar. The exception to copyright infringement in Thailand has not been specified unlike in the US, where it has been clearly specified. If the exception to copyright infringement had been clearly stated, it would help the courts in Thailand to consider cases more efficiently and fairly in order to contribute to the appropriation art protection in Thailand.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2564
Subjects: ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ -- ศิลปกรรม -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การละเมิดลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์ -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ศิลปะ -- การจัดการ
Advisor(s): วรรณวิภา พัวศิริ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4893
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chathathai_chan.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback