DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4646

Title: ทัศนคติ ความไว้วางใจในอินเทอร์เน็ตและรัฐบาล การตระหนักรู้ในบริการสาธารณะ คุณภาพของบริการสาธารณะ และความน่าเชื่อถือที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-government Service) ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Attitude, Trust of Internet, Trust of Government, Awareness of Public Service, Quality of Public Service and Reliability Influencing satisfaction of E-government Service of Citizens in Bangkok
Authors: วลัยพรรณ แจ่มวรรณา
Keywords: บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
การตระหนักรู้ในบริการสาธารณะ
คุณภาพของบริการสาธารณะ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ ความไว้วางใจในอินเทอร์เน็ตและรัฐบาล การตระหนักรู้ในบริการสาธารณะ คุณภาพของบริการสาธารณะ และความน่าเชื่อถือที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-government Service) ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่เคยใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 150 คน และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประชาชนในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านความไว้วางใจในรัฐบาล คุณภาพของบริการสาธารณะ และความน่าเชื่อถือ โดยร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ของประชาชนในกรุงเทพมหานครได้ คิดเป็นร้อยละ 83.7 ในขณะที่ปัจจัยด้านทัศนคติ ความไว้วางใจในอินเทอร์เน็ต การตระหนักรู้ในบริการสาธารณะไม่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
The study was aimed primarily to examine attitude, trust of Internet and government, awareness of public service, quality of public service and reliability influencing satisfaction toward e-government service of citizens in Bangkok. Close-ended questionnaires were verified the reliability and content validity for data collection. The samples consisted of 150 people who lived in Bangkok and used to implement the e-government service. Additionally, the inferential statistics used in the hypothesis testing was multiple regression analysis. The results showed that the factors influencing satisfaction toward e-government service of citizens in Bangkok with statistically significant at .05 were trust of government along with quality of public service and reliability. These factors explained 83.7% of the influence on satisfaction toward e-government service of citizens in Bangkok. However, attitude, trust of internet and awareness of public service did not affect the satisfaction toward e-government service of citizens in Bangkok.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
การบริหารรัฐกิจ -- การประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
อินเทอร์เน็ตในการบริหารรัฐกิจ--วิจัย
บริการสาธารณะ--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- การศึกษาอิสระ
Advisor(s): นิตนา ฐานิตธนกร
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4646
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Walaipan_jaem.pdf10.44 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback