DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4615

Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Factors Affecting the Decision in Using PTT Gas Stations in Samut Prakan Province
Authors: ณัฐพัฒน์ กว้างศิริพร
Keywords: การตัดสินใจใช้บริการ
สถานีบริการน้ำมัน
สถานีบริการน้ำมัน ปตท.
คุณภาพการบริการ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อ ความพึงพอใจในการใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อศึกษา พฤติกรรมของผู้ใช้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัด สมุทรปราการ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณแบบไม่ทราบ จำนวนประชากรโดยใช้สูตร Cochran (1953) ได้มีการกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95% โดยกำหนด ความผิดพลาดไม่เกิน 5% หรือที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากการคำนวณได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เท่ากับ 385 คน และเพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการตอบแบบสอบถามที่ไม่สมบูรณ์ ผู้วิจัยจึง สำรองกลุ่มตัวอย่างเพิ่มอีก 15 คน ดังนั้น รวมขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เท่ากับ 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติโดยวิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีทดสอบค่าที (t–test) เพื่อเปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระ 2 กลุ่ม และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) กรณีที่ทดสอบแล้วพบว่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่มของค่าเฉลี่ยจะนำไปทดสอบ ความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference) โดยกำหนดค่านัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Coefficient) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ด้านเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา สูงสุด และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ ด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบ t–test และ (One–Way ANOVA) พบว่า ค่า Sig มากกว่าระดับนัยสำคัญ เท่ากับ 0.05 สามารถสรุปได้ว่า ผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ ที่มีปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ ไม่แตกต่างกัน 2) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้ใช้บริการด้านการติดตามข้อมูลข่าวสาร จากสื่อและจำนวนเงินที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ ด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบ (One–Way ANOVA) พบว่า ค่า Sig มากกว่า ระดับนัยสำคัญ เท่ากับ 0.05 สามารถสรุปได้ว่า ผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัด สมุทรปราการ ที่มีปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้ใช้บริการต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ ไม่แตกต่างกัน ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้ใช้บริการด้านใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. กี่ครั้งต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ ด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบ (One–Way ANOVA) พบว่า ค่า Sig น้อยกว่าระดับนัยสำคัญ เท่ากับ 0.05 สามารถสรุปได้ว่า ผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ ที่มีปัจจัยด้าน พฤติกรรมของผู้ใช้บริการต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัด สมุทรปราการ แตกต่างกัน 3) ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพการบริการมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในจังหวัดสมุทรปราการ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกัน
This research aims to study on different demographic characteristics that affect the satisfaction of using PTT gas stations in Samut Prakan Province, to study on the behaviors of the customers that affect the satisfaction of using PTT gas stations in Samut Prakan Province, and to study on the quality of services that affect the satisfaction of using PTT gas stations in Samut Prakan Province. The sample group of this research is the customers of PTT gas stations in Samut Prakan Province. The researcher used the method of determining the sample size by using the formula for calculating the unknown population using the formula Cochran (1953) by setting a confidence level of 95% with an error not exceeding 5% or at a significant level of 0.05. Calculated, the sample used in the research was 385 people and to prevent errors from incomplete questionnaires. The researcher then reserved an additional 15 people sample, so the total sample size used in this research was 400 people. The instrument used in this research was a questionnaire, which the researcher created as a tool to collect data from the sample. The data analysis was done by using statistics from percentage finding methods, arithmetic mean, and standard deviation. Besides, a t–test was used in the process to compare the differences between 2 independent variables and One–Way ANOVA. In the case that a significant difference between the groups of mean values was founded, it will be used in differences test in pairs by LSD (Least Significant Difference) method by determining statistical significance at the level of .05 and Pearson's Coefficient analysis to study the relation between variables. The result revealed that 1) The factors about demographic, sex, age, occupation, highest educational level and the average monthly income is affecting the decision in using PTT gas stations in Samut Prakan Province. The t–test analysis and (One–Way ANOVA) found that the sig values greater than the significance level of 0.05, which can be concluded that the different demographic factors of the customers of PTT gas stations in Samut Prakan Province do not affect the decision in using PTT gas stations in Samut Prakan Province. 2) The behavioral factors of the customers in media using and different amount of money are affecting the decision in using PTT gas stations in Samut Prakan Province. The (One–Way ANOVA) found that the sig values greater than the significance level of 0.05, which can be concluded that the different behavioral factors of the customers of PTT gas stations in Samut Prakan Province do not affect the decision in using PTT gas stations in Samut Prakan Province. The different behavioral factors of the customers in using PTT gas station per month is affecting the decision in using PTT gas stations in Samut Prakan Province. The (One–Way ANOVA) found that the sig values less than the significance level of 0.05, which can be concluded that the different behavioral factors of the customers of PTT gas stations in Samut Prakan Province affect the decision in using PTT gas stations in Samut Prakan Province. 3) The result also revealed that the service quality is affecting the decision to use the service of PTT gas stations in Samut Prakan Province at the statistical significance level of .05 with the same direction relation.
Description: การค้นคว้าอิสระ(นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2562
Subjects: สถานีบริการน้ำมัน -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ
สถานีบริการน้ำมัน ปตท. -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
สถานีบริการน้ำมัน -- ไทย -- สมุทรปราการ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ความพอใจของผู้ใช้บริการ -- ไทย -- สมุทรปราการ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมปิโตรเลียม
Advisor(s): องอาจ สิงห์ลำพอง
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4615
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
nuttapat_kwan.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback