DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4502

Title: การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จากมุมมองของนักท่องเที่ยว: กรณีศึกษา อำเภอ แม่สอด จังหวัดตาก
Other Titles: Potential assessment of ecotourism attractions from tourist’s perspective: A case study of Mae Sot district, Tak province 
Authors: ทัชชญา ทรงอิทธิสุข
Keywords: แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การประเมินศักยภาพ
นักท่องเที่ยวชาวไทย
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตากจากมุมมองของนักท่องเที่ยว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ที่เดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 3 แหล่ง ได้แก่ น้ำพุร้อนแม่กาษา อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ และ วัดไชยวัฒนาราม และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวเชิงลึก จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับข้อมูล เชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคิดเห็นต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทั้ง 3 แหล่งในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทั้ง 6 ด้าน สามารถเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยได้ ดังนี้ ด้านความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวมีศักยภาพอยู่ในระดับสูงมาก (Mean= 4.51, S.D.= 0.578) ด้านคุณค่าและความดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวมีศักยภาพอยู่ในระดับสูง (Mean= 4.19, S.D.= 0.744) ตามด้วยด้านสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว (Mean= 4.03, S.D.= 0.755) ด้านการบริหารจัดการในแหล่งท่องเที่ยว (Mean= 4.02, S.D.= 0.773) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว (Mean= 3.99, S.D.= 0.752) และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น (Mean= 3.89, S.D.= 0.812) มีศักยภาพอยู่ในระดับสูงทั้งหมด นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศว่า ควรพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว ดูแลความปลอดภัย และควรจัดสรรผลประโยชน์ที่เกิดจากการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรม สร้างความสัมพันธ์ระหว่างทุกภาคส่วน รวมถึงชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยว เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ควรพัฒนาบุคลากรในแหล่งท่องเที่ยวให้มีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว และสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ รวมถึงควรมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้มากขึ้น
The objectives of this research were to assess the potential of ecotourism attractions from tourist’s perspective using, Mae Sot district, Tak province as a case study. The quantitative data was collected by questionnaires from 400 Thai tourists visiting the 3 ecotourism attractions in Mae Sot District, Tak Province: Maekasa Hot Springs, Phacharoen Waterfall National Park, and Wat Thaiwatthanaram, while qualitative data was collected using in-depth interviews from 9 tourists. The statistical tools used for data analysis were descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation for quantitative data and content analysis for qualitative data. Research findings had revealed the followings; 1) Thai tourists’ opinion on the potential of three ecotourism attractions in Mae Sot district, Tak Province, in 6 aspects, arranged in descending order of mean values, are as follows: the convenience of tourist attraction access aspect, extremely high-leveled potential (Mean = 4.51, SD = 0.578); the touristic value and charm aspect, high-leveled potential (Mean = 4.19, SD = 0.744); followed by the environment tourist attraction aspect (Mean = 4.03, SD = 0.755), the tourist attraction administration aspect (Mean = 4.02, SD = 0.773); the tourist attraction facility aspect (Mean = 3.99, SD = 0.752); and the local participation aspect (Mean = 3.89, SD = 0.812). Furthermore, Thai tourists’ opinions toward the guidelines of ecotourism attraction development are as follows: facilities in tourist attractions should be more developed, security should be well maintained, and touristic benefits should be fairly allocated, thus creating relationships between all sectors. Local communities should be included to participate in tourism management so as not to cause environmental impacts. Moreover, the officers at ecotourism attraction should be well-trained to prepare and welcome tourists as well as capable of using English. The attractions should be more advertised and promoted.
Description: การค้นคว้าอิสระ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ--ไทย--ตาก
นักท่องเที่ยว--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ--สารนิพนธ์
Advisor(s): ณัฐนุช จันทวิมล
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4502
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
thatchaya_song.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback