DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4472

Title: ความน่าเชื่อถือของตราสินค้า และการรับรู้เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายผลิตภัณฑ์กล้อง Leica ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The effect of brand credibility and perceived uniqueness on consumers’ willingness to pay for Leica camera in Bangkok
Authors: วรพจน์ ศิริรัตน์
Keywords: ความน่าเชื่อถือของแบรนด์
การรับรู้เอกลักษณ์
ความเต็มใจที่จะจ่าย
กล้องถ่ายรูป
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความน่าเชื่อถือของแบรนด์ และการรับรู้เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายผลิตภัณฑ์กล้องถ่ายรูปในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-probability Sampling) โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์สถิติถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.00 มีอายุประมาณ 31–35 ปี ร้อยละ 28.70 การศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงระดับปริญญาตรี ร้อยละ 63.20 อาชีพส่วนใหญ่ ทำธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 43.50 รายได้เฉลี่ย 50,001–100,000 บาท ร้อยละ 31.50 ส่วนระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของตราสินค้า การรับรู้เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก ส่วนความเต็มใจที่จะจ่ายผลิตภัณฑ์นั้น อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง สำหรับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความน่าเชื่อถือของตราสินค้า และการรับรู้เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของความเต็มใจที่จะจ่ายผลิตภัณฑ์กล้องถ่ายรูปตราสินค้า Leica ในเขตกรุงเทพมหานครได้ ร้อยละ 70.8 และยังพบว่า ความน่าเชื่อถือของตราสินค้า และการรับรู้เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ส่งผลทางบวกต่อความเต็มใจที่จะจ่ายผลิตภัณฑ์กล้องถ่ายรูปในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
This research objectives aims examine the effect of brand credibility and perceived uniqueness on consumers’ willingness to pay for Leica camera in Bangkok. The data of 400 respondents were collected using questionnaire. The samples were selected by employing purposive technique of non-probability sampling. For statistical analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression were used. The result shows that 53 percent of respondents were men, age between 31-35 years old (28.70%), graduated with bachelor’s degree (63.20%), work as business owners (43.50%) with average salary between 50,001–100,000 Baht (31.50%). The level of opinion about brand credibility, perceived uniqueness are high and consumers' willingness-to-pay is moderate. According to hypothesis testing, it was found that brand credibility and perceived uniqueness can explain the occurrence of willingness-to-pay for Leica camera in Bangkok by 70.8%. The results also revealed that brand credibility and perceived uniqueness have positive effects on willingness-to-pay for Leica camera of consumers in Bangkok, with significance level at 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2562
Subjects: กล้องถ่ายรูปดิจิทัลไลก้า--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความภักดีต่อชื่อตราผลิตภัณฑ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การสื่อสารทางการตลาด--ไทย--กรุงเทพฯ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ--สารนิพนธ์
Advisor(s): รวิพรรณ สุภาวรรณ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4472
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
voraphot_siri.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback