DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/435

Title: ทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศของวัยรุ่น
Authors: เพ็ญนิภา พรพัฒนนางกูร
Keywords: การซื้อเสื้อผ้า
เสื้อผ้านำเข้า
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อการศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนาเข้าจากต่างประเทศของวัยรุ่น ในด้านส่วนประสมทางการตลาด ลักษณะประชากรศาสตร์ และการเปิดรับข่าวสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครที่มีพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศ จานวน 200 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 18-22 ปีบริบูรณ์ ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยของครอบครัวอยู่ที่ 80,00-100,000 บาท พักอาศัยอยู่กับพ่อแม่ และเคยท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยที่เพศหญิงจะมีพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศมากกว่าเพศชาย ตรายี่ห้อเสื้อผ้าแฟชั่นนาเข้าจากต่างประเทศที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับแรกคือ Esprit สถานที่ที่ไปซื้อบ่อยที่สุดคือ ห้างสรรพสินค้า ส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าเดือนละ 1-2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะซื้อ 1-2 ชิ้น เป็นเงินประมาณ 1,001-5000 บาท โดยที่วัยรุ่นจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกซื้อเองมากที่สุด สาเหตุที่ทำให้ซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นวัยรุ่นนำเข้าจากต่างประเทศมากที่สุด คือ แบบ/ดีไซด์ของเสื้อผ้าที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด และจะมีการซื้อมากที่สุดในช่วงที่สินค้าลดราคาผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศของวัยรุ่น พบว่าด้านผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายมีความสัมพันธ์กันในระดับนัยสาคัญ0.05 ในขณะที่ด้านราคาและการส่งเสริมการตลาดนั้นไม่มีความสัมพันธ์กันในระดับนัยสาคัญ 0.05 อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมของส่วนประสมทางการตลาดแล้วมีความสัมพันธ์กันในระดับนัยสาคัญ 0.05 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศของวัยรุ่น พบว่าการเปิดรับข่าวสารทางสื่อมวลชน สื่อบุคคล และสื่อเฉพาะกิจไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศของวัยรุ่นในระดับนัยสาคัญ 0.05 อันเนื่องมาจากการวิเคราะห์การเปิดรับข่าวสารครั้งนี้มองในแง่ของความถี่ที่กลุ่มเป้าหมายมองเห็น/พบปะ/พูดคุยกับสื่อต่างๆ ซึ่งจากการวิจัยพบว่ากลุ่มเป้าหมายมี ความถี่ค่อนข้างต่าในการมองเห็น/พบปะ/พูดคุยกับสื่อต่างๆ ทำให้ผลการวิจัยออกมาในลักษณะไม่สัมพันธ์กัน ผลการศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศของวัยรุ่นแตกต่างกัน พบว่าพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าวัยรุ่นแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศแตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยของครอบครัว และประสบการณ์การท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศของวัยรุ่น ไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามอายุ ที่ระดับนัยสาคัญ 0.05 เนื่องจากช่วงอายุของวัยรุ่นใกล้เคียงกันมากจึงไม่เกิดความแตกต่าง ผลการศึกษาทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศของวัยรุ่น พบว่าทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้านาเข้าจากต่างประเทศของวัยรุ่นที่ระดับนัยสาคัญ 0.05
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2551
Subjects: ผู้บริโภค--ทัศนคติ--การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ประภัสสร วรรณสถิตย์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/435
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pennipa_porn.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback