DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4198

Title: การศึกษาแผนงานการสื่อสารเพื่อรณรงค์การหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรณีศึกษา นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ
Other Titles: A study of strategic political campaigns of member of parliament for Thai General Election 2019, case study of Phonpoom Vipattipumiprates
Authors: พิชญธิดา ธรรมศรี
Keywords: กลยุทธ์การสื่อสาร
Facebook Fanpage
รณรงค์การหาเสียงเลือกตั้ง
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแผนการสื่อสารเพื่อการรณรงค์การเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรของ นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ผู้สมัครเขต 14 บึงกุ่ม-คันนายาว (เฉพาะแขวงรามอินทรา) กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการศึกษาข้อมูล 2 ส่วนด้วยกัน คือ การศึกษาข้อมูลเนื้อหาสารการสื่อสารของนายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พรรคเพื่อไทย โดยใช้วิธีการลงพื้นที่และเก็บข้อมูลการสื่อสารเป็นเวลา 1 เดือน 20 วัน ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 และการศึกษาข้อมูลเนื้อหาสารการสื่อสารของพรรคอนาคตใหม่เพื่อทำการเปรียบเทียบ โดยใช้วิธีการ เก็บข้อมูลเนื้อหาการสื่อสารบนสื่อออนไลน์ Facebook Fanpage ของพรรคอนาคตใหม่เป็นเวลา 6 เดือน 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561 จนถึงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562 ผลการวิจัยการสื่อสารของ นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พรรคเพื่อไทย เมื่อเปรียบเทียบกับการสื่อสารของพรรคอนาคตใหม่ในเรื่องของวัตถุประสงค์การสื่อสาร นายพลภูมิได้สื่อสารเพียงการแนะนำตนเองให้ประชาชนรู้จัก นำเสนอผลงานเก่าที่ตนเคยทำ และบอกว่าตนทำงานลงพื้นที่เท่านั้น ซึ่งไม่สามารถสื่อสารได้ครบถ้วนเท่าพรรคอนาคตใหม่ที่มีวัตุประสงค์ที่จะทำให้ประชาชนรู้จักพรรคอนาคตใหม่ ทำให้ประชาชนเชื่อว่าพรรคอนาคตใหม่ทำได้ ทำให้เห็นว่าพรรคอนาคตใหม่เหนือกว่าคู่แข่งอย่างไร สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน และเป็นกระบอกเสียงให้กับพรรคอนาคตใหม่ ส่วนในเรื่องของคอนเทนต์ นายพลภูมิมีการใช้ภาษาที่กึ่งทางการทำให้ประชาชนไม่อยากอ่าน การโพสต์มีแต่รูปภาพการลงพื้นที่เท่านั้น ส่วนคอนเทนต์ของพรรคอนาคตใหม่มีความเป็นต้นฉบับมากที่ประชาชนสามารถอ่านแล้วทราบว่านี้คือคอนเทนต์ของพรรคอนาคตใหม่ มีการใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การโพสต์ทุกครั้งจะต้องมีรูปภาพหรือวิดีโอประกอบอย่างมีคุณภาพ เนื้อหาสารต่าง ๆ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและมีประโยชน์สำหรับผู้อ่าน และในส่วนสุดท้ายคือกลยุทธ์การใช้เนื้อหาในการสื่อสารของนายพลภูมิ การเขียนเนื้อหามีข้อความที่ซ้ำ ๆ การใช้รูปภาพหรือวิดีโอก็มีเพียงการลงพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถดึงดูดให้ประชาชนได้เท่าที่ควร ส่วนพรรคอนาคตใหม่ในด้านกลยุทธ์การเขียนเนื้อหาทุกโพสต์จะมีการใช้คำว่า อนาคต หรืออนาคตใหม่ เสมอเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นพรรคและจุดยืนของพรรค รวมไปถึงกลยุทธ์ในการใช้รูปภาพและวิดีโอที่จะต้องลงควบคู่ทุกครั้ง เนื้อหาครบถ้วนพอที่จะอ่านรูป หรือดูวิดีโอก็เข้าใจสิ่งที่พรรคอนาคตใหม่ต้องการจะสื่อสารได้
This qualitative study was aimed to investigate the communicative plan for promoting members of the House of Representatives election of Mr. Phonpoom Viphatphumiprathes, the candidate in Bueng Kum-Khan Na Yao Area 14 (only Ram Inthra), Bangkok. The data was examined in 2 parts were investigating the communicative content of Mr. Phonpoom Viphatphumiprathes, Pheu Thai party. The communicative data was surveyed and collected for 1 month and 20 days since February 4, 2019-March 24, 2019 including examining the communicative content of the Future Forward party for comparison the both data by collecting the communicative data on Facebook Fanpage of the Future Forward party for 6 months and 3 days since September 20, 2018-March 23, 2019. The result revealed that the communication of Mr. Phonpoom Viphatphumiprathes, Pheu Thai party compared with the Future Forward party in the objective of the communication aspect found that Mr. Phonpoom communicated only introducing himself to the citizen, presented his previous achievement and his fieldwork which was the incompletely communication contrast with the Future Forward party which communicated people to know and trusted them included presenting the superiority. These made the reliability to people so they decided to support the Future Forward party. For the communicative content aspect, Mr. Phonpoomused the moderate formality language which did not interesting including only his fieldwork pictures were posted on the Facebook Fanpage whereas the content of the Future Forward party was originaland identity. They communicated obviously and easy to understand. The pictures and videos always attached when they posted on the Facebook Fanpage. The target could access their content and it was available to the reader. Finally, the communicative content strategies of Mr. Phonpoom found that there was a repetition of his content including his pictures or videos could not attract the people as expected. While the Future Forward party always used the word “Future” or “Future Forward” in all their post to indicate their standpoint including pictures and videos attachment strategies result in their content was presented completely. People could understand what they communicate easily.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: การสื่อสาร
การวางแผนการสื่อสาร
สื่อสังคมออนไลน์
เครือข่ายสังคมออนไลน์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- การเลือกตั้ง
Advisor(s): มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4198
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pichayatida.tham.pdf8.51 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback