DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/418

Title: การเปรียบเทียบระดับการรับรู้ต่อประเภทของแหล่งข้อมูลกับระดับการตัดสินใจซื้อนาฬิกาข้อมือต่างประเทศที่มีชื่อเสียงของคนกรุงเทพมหานคร
Authors: วิภาดา อินทรโชติ
Keywords: ระดับการรับรู้
ระดับการตัดสินใจ
นาฬิกาข้อมือ
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาโดยอิสระเรื่อง “ การเปรียบเทียบระดับการรับรู้ต่อประเภทของแหล่งข้อมูลกับระดับการตัดสินใจซื้อนาฬิกาข้อมือต่างประเทศที่มีชื่อเสียงของคนกรุงเทพมหานคร ” มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้ของคนกรุงเทพมหานครต่อแหล่งข้อมูลแต่ละประเภทจาแนกตามอาชีพเจ้าของธุรกิจและพนักงานบริษัทเอกชนและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้ต่อประเภทแหล่งข้อมูลกับระดับการตัดสินใจซื้อนาฬิกาข้อมือต่างประเทศที่มีชื่อเสียงของคนกรุงเทพมหานคร ในการศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามกลุ่มประชากรจากกลุ่มผู้บริโภคที่สวมใส่นาฬิกาแบรนด์เนมในเขตกรุงเทพมหานครและเป็นผู้ที่มีอาชีพเจ้าของธุรกิจและพนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistic) ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ในการบรรยายลักษณะทั่วไปของข้อมูล อันประกอบไปด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมด้านการรับรู้ที่มีต่อประเภทแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ในการหาค่าคะแนนระดับการรับรู้ต่อประเภทแหล่งข้อมูลแต่ละประเภทกับระดับการตัดสินใจซื้อและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติ Pearson Correlation ระดับการรับรู้ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเจ้าของธุรกิจและกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนมีระดับการรับรู้ต่อประเภทแหล่งข้อมูลประสบการณ์ของตนเอง คือ จากการศึกษาข้อมูลด้วยตนเองและมีระดับการรับรู้ต่อประเภทแหล่งข้อมูลสื่อประเภทต่าง ๆ คือ จากงานจัดแสดงสินค้าและมีระดับการรับรู้ต่อประเภทแหล่งข้อมูลกลุ่มอ้างอิง คือ จากเพื่อนสนิท ความสัมพันธ์ระดับการรับรู้ต่อประเภทแหล่งข้อมูลกับระดับการตัดสินใจซื้อ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเจ้าของธุรกิจและกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนมีระดับการรับรู้ต่อ ประเภทแหล่งข้อมูลประสบการณ์ของตนเองกับระดับการตัดสินใจซื้อ แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ระดับการรับรู้มีความสัมพันธ์กับระดับการตัดสินใจซื้อ กลุ่มเจ้าของธุรกิจและกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนมีระดับการรับรู้ต่อประเภทแหล่งข้อมูลสื่อประเภทต่าง ๆ กับระดับการตัดสินใจซื้อ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ระดับการรับรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับการตัดสินใจซื้อ กลุ่มเจ้าของธุรกิจและกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนมีระดับการรับรู้ต่อประเภทแหล่งข้อมูลกลุ่มอ้างอิงกับระดับการตัดสินใจซื้อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ระดับการรับรู้มีความสัมพันธ์กับระดับการตัดสินใจซื้อ
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: นาฬิกา--การตลาด--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี
การซื้อสินค้า--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): เกษมสันต์ พิพัฒน์ศิริศักดิ์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/418
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
vipa_inth.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback