DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/408
|
Title: | ความรู้ของผู้บริโภคด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อและการใช้สินค้ารักษาสิ่งแวดล้อม |
Authors: | พรลดา ลีลาสุนทรวัฒนา |
Keywords: | พฤติกรรมผู้บริโภค ปัญหาสิ่งแวดล้อม สินค้ารักษาสิ่งแวดล้อม |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันส่งผลกระทบต่อความคิดเห็นของผู้บริโภคในการซื้อและการใช้สินค้าประเภทรักษาสิ่งแวดล้อม 2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการซื้อและการใช้สินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม 3.เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมในการซื้อและการใช้สินค้าประเภทรักษาสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่รับรู้ต่อสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยแนวคิดการคานวณหาค่าขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% ทาให้ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่สามารถเชื่อถือได้จานวน 400 คนซึ่งใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) กับผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ความรู้
ของผู้บริโภคด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อและการใช้สินค้า การ
วิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้จะนาข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาประมวลผลโดยใช้โปรแกรม
สถิติสาเร็จรูป SPSS โดยใช้สถิติวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไค-
สแควร์ T-test และ one way ANOVA ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้
จากผลการศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ การศึกษาลักษณะทั่วไปทางด้านประชากร
สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่
ในระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้าง/พนักงานเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 10,001-30,000 บาทจากการศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าพบว่า ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (บรรจุภัณฑ์ Refill) มากที่สุด ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสินค้ารักษาสิ่งแวดล้อมจากสื่อโฆษณาต่างๆ ผู้บริโภคซื้อสินค้ารักษาสิ่งแวดล้อมโดยการศึกษารายละเอียดสินค้าก่อนซื้อมากกว่า 5ปี ขึ้นไป ผู้บริโภคซื้อสินค้ารักษาสิ่งแวดล้อมโดยการศึกษารายละเอียดสินค้าก่อนซื้อ ความถี่ในการซื้อและใช้สินค้าประเภทรักษาสิ่งแวดล้อม 2 -3 ครั้ง/เดือน ซื้อสินค้าประเภทรักษาสิ่งแวดล้อมในแต่ละครั้ง จานวน 100 – 999 บาท ได้รับอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อและใช้สินค้าประเภทรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการตัดสินใจเอง สาเหตุที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าประเภทรักษาสิ่งแวดล้อมเนื่องจาก
ต้องการร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคมีปัญหาและอุปสรรคที่พบในการซื้อสินค้าประเภทรักษาสิ่งแวดล้อมในเรื่องสถานที่จัดจาหน่ายไม่ทั่วถึงกลุ่มผู้บริโภคผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีความคิดเห็นของผู้ บริโภคในการซื้อ
และการใช้สินค้าประเภทรักษาสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นของผู้บริโภคในการซื้อและการใช้สินค้าประเภทรักษาสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพ และอัตรารายไ ด้ส่วนตัวต่อเดือน มีความคิดเห็นของผู้บริโภคในการซื้อและการใช้สินค้าประเภทรักษาสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของผู้บริโภคต่อสินค้ารักษา สิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อและกา รใช้สินค้า พบว่า ความรู้ของผู้บริโภคต่อสินค้ารักษาสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์พฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อและการใช้สินค้า อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Description: | การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552 |
Subjects: | ผลิตภัณฑ์สีเขียว--การตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี การเลือกซื้อสินค้า--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี การซื้อสินค้า--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี ผลิตภัณฑ์สีเขียว--การศึกษาเฉพาะกรณี การเลือกซื้อสินค้า--การศึกษาเฉพาะกรณี การซื้อสินค้า--การศึกษาเฉพาะกรณี พฤติกรรมผู้บริโภค--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Advisor(s): | ประภัสสร วรรณสถิตย์ |
URI: | http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/408 |
Appears in Collections: | Independent Studies - Master Independent Studies
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|