DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4030

Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งต่อ (Share) วีดีโอคอนเทนต์ออนไลน์ผ่านทางสื่อ Social Media (โซเชียลมีเดีย) ของวัยรุ่น Gen Z
Other Titles: Factory Affecting Video Content Sharing on Social Media of Generation Z
Authors: ไปรยา อรรคนิตย์
Keywords: วีดีโอคอนเทนต์
สื่อโซเชียลมีเดีย
เจนเนอเรชั่น Z
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยกระบวนการ Content Analysis มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหา และองค์ประกอบของวีดีโอคอนเทนต์ออนไลน์ผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมการเลือกรับชม และการส่งต่อ (Share) วีดีโอคอนเทนต์ออนไลน์ของวัยรุ่น GenZ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเนื้อหา และองค์ประกอบของวีดีโอคอนเทนต์ออนไลน์ผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย โดยครอบคลุมเนื้อหาในลักษณะต่างๆ ที่ส่งผลต่อการรับชมและการส่งต่อ (Share) วีดีโอคอนเทนต์ ของกลุ่มวัยรุ่นเจนเนอเรชั่น Z รวมถึงศึกษาพฤติกรรมการเลือกรับชมและการส่งต่อ (Share) วีดีโอคอนเทนต์ออนไลน์ของวัยรุ่นเจนเนอเรชั่น Z ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มวัยรุ่นเจนเนอเรชั่น Z ทั้งชายและหญิง ที่มีอายุระหว่าง 15 – 24 ปี และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) ของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) โดยมีการถามคำถามเจาะจงในการเลือกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างจะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ในการรับชมวีดีโอคอนเทนต์ออนไลน์ผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดียมาก่อน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีคำถามแบบปลายปิด โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถเลือกคำตอบที่ตรงกับความจริงหรือความคิดเห็นของผู้ตอบมากที่สุด เก็บแบบสอบถามจากการลงพื้นที่เก็บแบบสอบสัมภาษณ์จากสถานที่ต่างๆ ที่มีกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องในเขตกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) การวิเคราะห์ค่าทีเทส (Independent t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) เพื่อสรุปผลอ้างอิงไปยังประชากรของการศึกษาในครั้งนี้ ผลการศึกษาวิจัยในเรื่องเนื้อหาและองค์ประกอบของวีดีโอคอนเทนต์ออนไลน์ผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย พบว่า กลุ่มวัยรุ่นเจนเนอเรชั่น Z มักใช้ระยะเวลาในการเข้ารับชมแต่ละครั้งประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ช่วงค่ำเวลาประมาณ 19.00 – 21.59 น. เมื่อพักอาศัยอยู่ที่บ้าน และรับชมวีดีโอคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความบันเทิง เพลง ตลก ละคร หนังสั้น ฯลฯ แล้วเกิดความสนใจทำการส่งต่อ (Share) ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อนำข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มวัยรุ่นเจนเนอเรชั่น Z มาวิเคราะห์ต่อการเลือกรับชมและการส่งต่อ (Share) วีดีโอคอนเทนต์ออนไลน์ พบว่า กลุ่มคนยุคเจนเนอเรชั่น Z ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20 – 24 ปี จบการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส. ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว และมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 6,001 – 9,000 บาทต่อเดือน อีกทั้งยังพบว่า มีพฤติกรรมการเลือกรับชมและการส่งต่อ (Share) วีดีโอคอนเทนต์ออนไลน์ที่มีเนื้อหาตลก เนื้อหาที่กำลังอยู่ในกระแสทุกคนกำลังกล่าวถึง วิธีการถ่ายทำสวยและมีคุณภาพ เนื้อหาที่แปลกตาและเป็นรูปแบบการถ่ายทำมุมกล้องแปลกใหม่ เพลงประกอบที่รู้สึกพอใจ และมีเนื้อหาเชิงข่าวสารเป็นอันดับสุดท้าย
This quantitative research by applying the content analysis method aims to 1) study the content and elements of online video content via social media 2) study and analyze the behavior of generation Z adolescents in watching and sharing online video content. The researcher studied content and elements of online video content via social media by comprehensive in various domain. Those domain affect in watching and sharing online video content among this target group. Including explored the behavior of generation Z adolescents in watching and sharing online video content. The population for this study comprised generation Z adolescents both male and female were age between 15-24 years old in Bangkok. The 400 samples was selected by systematic random sampling by choosing the generation Z adolescents according to purposive question. The sample group must be experienced in online video content viewing via social media. The instruments used for this research was closed-ended questionnaire, by allowing the samples to choose the answers that correspond to the truth or opinions of the respondents. Data were analyzed by descriptive statistic, independent t-test and one-way analysis of variance were used to analyze the data also for generalize the result to their population. The result were as, generation Z adolescents often visit online social media at home, and duration of each visit is approximately 1 - 2 hours. The most period of vising was 7 P.M.to 9.59 P.M. and they watch video content with content about entertainment, funny music, drama, short films, etc. After visiting when interested they will share information in social media. The researcher analyzed the data and found that. The most participants are female age between 20-24 years old. Most of participants graduate in diploma, they are personal business career with average income is 6,001 – 9,000 baht per month. Moreover the result indicate that the participant watching and sharing online video content with funny content or the content that is in every stream is being discussed. Moreover the participant concern in the quality of shooting, beautiful shoot, strange content and the form of filming, strange camera angle, satisfied in soundtrack and they priority to content as a last resort.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: เจนเนอเรชันแซด
สื่อสังคมออนไลน์
เครือข่ายสังคมออนไลน์
เครือข่ายสารสนเทศ
ระบบสื่อสารข้อมูล
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4030
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
priraya_arka.pdf8.92 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback