DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3713

Title: การวิเคราะห์เนื้อหาสาร และการตอบสนองในเพจเฟซบุ๊กของธุรกิจเกษตร: กรณีศึกษาเพจเฟซบุ๊ก ปุ๋ยเคมีตราม้าบินและปุ๋ยเคมีตรามงกุฎ
Other Titles: The type of contents and users engagement analysis to contents publishing on agriculture brands’ Facebook fanpage: A case study of Mabin fertilizer and Mongkut fertilizer Facebook fanpage
Authors: คุณิตา ชันษา
Keywords: การนำเสนอเนื้อหา
ปฏิกิริยาตอบกลับ
เพจเฟซบุ๊ก
เกษตรกรรม
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเรื่อง “การวิเคราะห์เนื้อหาสาร และการตอบสนองในเพจเฟซบุ๊กของธุรกิจเกษตร: กรณีศึกษาเพจเฟซบุ๊ก ปุ๋ยเคมีตราม้าบินและปุ๋ยเคมีตรามงกุฎ” ผู้วิจัยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ตามวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของเนื้อหาที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคบนเพจเฟซบุ๊กของปุ๋ยเคมีตราม้าบินของบริษัท ไอ ซี พี เฟอทิไลเซอร์ จำกัด และปุ๋ยเคมีตรามงกุฏของบริษัท เทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด 2) เพื่อศึกษาปฏิกิริยาตอบกลับของผู้รับสารต่อการนําเสนอเนื้อหาบนเพจเฟซบุ๊กของปุ๋ยเคมีตราม้าบินของบริษัท ไอ ซี พี เฟอทิไลเซอร์ จำกัดและปุ๋ยเคมีตรามงกุฏของบริษัท เทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้เครื่องมือลงรหัสสำหรับการวิเคราะห์เนื้อหา (Coding Sheet) เก็บข้อมูล ตั้งแต่วันที่ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2060 ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2561 จำนวนทั้งสิ้น 219 โพสต์ ซึ่งในวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผู้วิจัยเลือกศึกษาในส่วนของรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาบน Facebook Fanpage และทำการแสดงสถิติการปรากฎของเนื้อหาประเภทต่าง ๆ สำหรับวัตถุประสงค์การวิจัยในข้อที่ 2 ผู้วิจัยจะแสดงค่าปฏิกิริยาตอบกลับ (Engagement) เฉลี่ยต่อโพสต์ที่มีต่อรูปแบบและแนวคิดการสร้างเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ประเภทเนื้อหาที่ทางเพจมีการนำเสนอมากที่สุดจะเป็นส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขาย ส่วนปฏิกิริยาตอบกลับหรือ Engagement นั้นพบในเนื้อหาเชิงพันธุ์พืชเสริมรายได้ สำหรับรูปแบบการนำเสนอที่เป็นที่ทางเพจใช้ในการนำเสนอมากที่สุดจะเป็นรูปแบบของภาพนิ่งปกติ แต่รูปแบบการนำเสนอที่ได้รับการตอบรับหรือ Engagement ดีที่สุดคือรูปแบบการนำเสนอแบบ List หรือการจัดลำดับข้อมูล และส่วนสุดท้ายในการใช้หลักการสร้างเนื้อหา ทางเพจใช้หลักการสร้างเนื้อหาที่มีความเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด ดังนั้น การจัดทำเนื้อหาบน Facebook Fanpage เพื่อให้ประสบความสำเร็จหรือเกิดผลลัพธ์ที่ดี ควรให้ความสำคัญกับการตอบรับหรือ Engagement ของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก และสำหรับทั้ง Fanpage ที่ได้ทำการศึกษา ควรเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพันธ์พืชเสริมรายได้ หรือข่าวที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมให้มากยิ่งขั้น ในส่วนของรูปแบบการนำเสนอ ควรจัดทำในรูปแบบ List หรือการจัดลำดับข้อมูล และในขณะเดียวกัน ควรเน้นการสร้างเนื้อหาที่ใช้หลักการ การสร้างเนื้อหา ที่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มมากขึ้น เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
This research has two principle objectives: 1) To examine types of content which affects audiences’ engagement 2) To examine audiences’ engagement. The study methodology was qualitative research using coding sheet as a tool for contents analysis. The research data were collected from 291 content posts which were published on Mar Bin fertilizer and Mong Kut fertilizer Facebook page during June 1, 2017 to June 30, 2018. The study was divided in two parts as per research objectives. In the first part, the quantity of concepts and theories concerned with this study were presented through frequency and percentage. The Facebook engagement rate per post were presented in the second part. The results of the study showed that the most publishing contents on both Facebook page is promotion contents. Regarding the Facebook engagement rate, the result found that extra value seed contents can get the highest average engagement rate. In the aspect of type of content, the contents that gain the highest engagement rate is the type of list contents but the most published content is photo contents. Audiences have their engagement to useful contents but less engagement to independent-styled content. Therefore, to create successful or effective content on Facebook page, content creator should mainly consider contents that can attract positive engagement from audience. A listed contents that combine with useful and relate with value seed should be applied more in the content.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
สื่อสังคมออนไลน์
เครือข่ายสังคมออนไลน์
อุตสาหกรรมการเกษตร -- ไทย
ความสำเร็จทางธุรกิจ
Advisor(s): ชุติมา เกศดายุรัตน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3713
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kunita_shun.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback