DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3710

Title: ความพึงพอใจและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรม ระดับ 4 ดาวในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
Other Titles: Satisfaction and Motivation Impact on the Operation of 4-Star Hotel Staffs in Bangkok Metropolis and Adjacent Provinces
Authors: ยศนันท์ อ่อนสันทัด
Keywords: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
พนักงานโรงแรม
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเรื่อง แรงจูงใจและความพึงพอใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาวในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ทำการศึกษารูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กระบวนการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ระหว่าง พฤษภาคม 2560 ถึง ธันวาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ สถิติอ้างอิง One way ANOVA และ T-test แล้วทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้ Scheffe ในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 21-25 ปี มีสถานภาพโสด ตำแหน่งงานคือพนักงานต้อนรับส่วนหน้า (Front Office) มีระยะเวลาการทำงาน 1-3 ปี มีรายได้ต่อเดือน ระหว่าง 10,001 - 20,000 บาท ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาวในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.00 พิจารณารายด้าน พบว่า ด้านปัจจัยจูงใจ อยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 3.86 และด้านปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.02 ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาวในเขตกรุงเทพและปริมณฑล อยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 3.99 เปรียบเทียบปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่าพนักงานที่มีเพศ ตำแหน่งงาน ระยะเวลาการทำงาน ที่แตกต่างกัน มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ทั้งภาพรวม ด้านปัจจัยจูงใจ และด้านปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน พนักงานที่มีอายุแตกต่างกัน มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยรวม และด้านปัจจัยค้ำจุน ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านปัจจัยจูงใจ มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คืออายุของพนักงาน ที่แตกต่างกันมีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน ระดับรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ในภาพรวม และด้านปัจจัยจูงใจ มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนด้านปัจจัยค้ำจุน มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน เปรียบเทียบปัจจัยความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน พบว่า พนักงานที่มีเพศ ระยะเวลาการทำงาน และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนอายุ สถานภาพสมรส และตำแหน่งงาน ที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน
This quantitative research studies 4-star hotel staffs’ satisfaction and motivation impact on the operation in Bangkok and adjacent provinces using accidental sampling. The data were collected from the sample groups based on questionnaire from May to December, 2017. The data was then analyzed by using descriptive statistics, namely, percentage, inferential statistics, One way ANOVA, and T-test, and subsequently by testing differences among the groups by using Scheffe in statistical data analysis and interpretation. According to the study, most sample groups were single females whose age range is between 21-25 years old in the position of Front Office (Front Office Receptionist). They had 1-3 years’ work experience. Their monthly incomes were from 10,001 to 20,000 baht. Overall, motivation level of the 4-star hotel staffs in Bangkok and adjacent provinces was in the high level with average value of 4.00. On consideration on an aspect basis, the motivation aspect was in the high level with average value of 3.86, and maintenance factor was in the high level with average value of 4.02. the satisfaction level on operation was in the high level with average value of 3.99. In comparison with operating motivation factors, the employees who have different genders, positions, and working periods did not have different opinions on motivation factors and maintenance factors. Regarding to employees with different ages, they also did not show different opinions on motivation factors and maintenance factors. Motivation factor had different operating motivation level with statistical signification of 0.05. Hotel employees who had different monthly income had indifferent operating motivation, and on motivation factor aspect, with statistical signification in the level of 0.05. Moreover, regarding maintenance factor, the operating motivation level was indifferent. In comparison with the operating satisfaction factor, employees of different genders, working period, and monthly income showed different operating motivation with statistical signification in the level of 0.05. Last but not least, different age, marital status, and position did not demonstrate different operating satisfaction.
Description: การค้นคว้าอิสระ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: พนักงานโรงแรม
พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม
ความพอใจในการทำงาน -- วิจัย
ความพอใจในการทำงาน -- ไทย -- วิจัย
พนักงานโรงแรม -- ความพอใจในการทำงาน -- วิจัย
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
Advisor(s): ดวงธิดา นันทาภิรัตน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3710
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
yossanun_onsun.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback