DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3694

Title: การเลือกใช้บริการ SMS แจ้งเตือนเงินเข้า-ออก ของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในประเทศไทยของประชากรในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Decision on Receiving SMS Notification Service of Thai Commercial Banks by Bangkok Citizens
Authors: ภากร พรประภาพิสุทธิ์
Keywords: ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน
การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้งาน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ปัจจัยการรับรู้ถึงความยากง่ายในการใช้งาน และปัจจัยการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากใช้งานที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ SMS แจ้งเตือนเงินเข้า-ออกของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในประเทศไทยของประชากรในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ กุมภาพันธ์ถึงตุลาคม 2561 โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งผู้วิจัยแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21- 30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ 10,001 – 20,000 บาท อาชีพนิสิต/นักศึกษา มีการใช้บริการธนาคารพาณิชย์มากกว่า 2 ธนาคาร และส่วนใหญ่มีความถี่ที่ใช้บริการน้อยกว่า 5 ครั้งต่อเดือน ผลการสำรวจแบบสอบถามแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นโดยรวมต่อในด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ปัจจัยการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้งาน และการตัดสินใจใช้บริการในระดับมาก และผลการศึกษาปัจจัยสอดคล้องกับสมมุติฐาน คือ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ SMS แจ้งเตือนเงินเข้า-ออก ของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในประเทศไทย และไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน คือ ปัจจัยการการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานและปัจจัยการการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้งานไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ SMS แจ้งเตือนเงินเข้า-ออก ของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This research had the objectives to study the marketing mix (7Ps), perceived ease of use and perceived usefulness affecting the decision on receiving the SMS notification service of Thai commercial banks by Bangkok citizens. The researcher was collecting data from February to October 2018 using purposive sampling method. The researcher distributed the questionnaire to 400 persons in the sample group. The statistic software was used to conduct the data analysis with descriptive statistics: frequency, percentage, mean, and standard variation. Furthermore, the inferential statistics were using multiple regressions. The results indicated that most of sample groups were female, 21-30 years of age, single status, having Bachelor’s degree, income of 10,001-20,000 Baht, occupation of student, receiving services from more than 2 commercial banks with frequency less than 5 times per month. The results also indicated the overall opinion of the respondents on marketing mix, perceived ease of use, perceived usefulness, and decision on receiving service are at high level. Furthermore, the results were consistent to one of the assumptions that the marketing mix has the influence on the decision on receiving the SMS notification service of Thai commercial banks, but inconsistent to other assumptions that the perceived ease of use and perceived usefulness have no influence on the decision on receiving the SMS notification service of Thai commercial banks at the statistical significant level of 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (ยธ.ม.) -- บัณฑิควิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: บริการธนาคารทางโทรศัพท์เคลื่อนที่
ธนาคารและการธนาคาร
การจัดการธนาคาร
การใช้บริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต
บริการส่งข้อความทางโทรศัพท์เคลื่อนที่
Advisor(s): ชุติมาวดี ทองจีน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3694
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
phakorn_bhorn.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback