DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/356
|
Title: | ความพึงพอใจของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน |
Authors: | ธมนวรรณ กัญญาหัตถ์ |
Keywords: | ความพอใจของผู้บริโภค สมาร์ทโฟน การตลาด |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของประชากรที่อาศัยในกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ ซึ่งได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-test การทดสอบ F-test การทดสอบความแปรปรวน ทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบ Multiple Regression ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 – 29 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพเป็นลูกจ้างองค์กร มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
20,001 – 30,000 บาท และมีรูปแบบการดำเนินชีวิตเป็นผู้ที่หาเช้ากินค่ำ รู้สึกสบายใจกับสิ่งที่คุ้นเคย
ให้ความสนใจต่อความปลอดภัยและความมั่นคง (Survivors) จากผลการวิเคราะห์พบว่า
1. ความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านหน้าที่ผลิตภัณฑ์ ด้านภาพลักษณ์ของตรา ด้านอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้ และด้านภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
2. ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ สถานภาพ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟนด้านหน้าที่ผลิตภัณฑ์ ด้านภาพลักษณ์ของตรา ด้านอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้ และด้านภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05
3. ด้านอาชีพที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟนด้านภาพลักษณ์ของตรา ด้านอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้ และด้านภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนในด้านหน้าที่ผลิตภัณฑ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
4. ด้านรายได้ที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟนด้านอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 ส่วนในด้านหน้าที่ผลิตภัณฑ์ ด้านภาพลักษณ์ของตรา และด้านภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 5. ด้านรูปแบบการดาเนินชีวิตที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟนด้านหน้าที่ผลิตภัณฑ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนในด้านภาพลักษณ์ของตรา ด้านอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้ และด้านภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟนในแต่ละด้านที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจโดยรวมต่อสมาร์ทโฟนพบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน ในด้านหน้าที่ผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจโดยรวมต่อสมาร์ทโฟนมากที่สุด |
Description: | การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554 |
Subjects: | ความพอใจของผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี สมาร์ทโฟน--การตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Advisor(s): | ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม |
URI: | http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/356 |
Appears in Collections: | Independent Studies - Master Independent Studies
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|