DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3552

Title: ความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของคนทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Knowledge and Understanding in the Sufficiency Economy Philosophy of Workers in Bangkok Area
Authors: อริสรา เกิดผล
Keywords: ความรู้ความเข้าใจ
เศรษฐกิจพอเพียง
การจัดการการเงินส่วนบุคคล
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาค้นคว้าเรื่อง ความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของคนทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครมีความรู้ ความเข้าใจ และมีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต และการจัดการทางการเงินมากน้อยเพียงใด ซึ่งการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มคนวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20 - 60 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามทฤษฎีความน่าจะเป็น (Probability Sampling) โดยการเลือกตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) และวิธีการทางสถิติได้แก่ ค่าสถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's correlation) และค่าสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทีเทส (t-test) กรณีการเปรียบเทียบสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ อาชีพ จำนวนสมาชิกในครอบครัว และจำนวนเงินสำรอง ส่วนการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพอประมาณในการจัดสรรรายได้ มีเหตุมีผลในการพิจารณาถึงความจำเป็นก่อนจะใช้จ่าย อย่างไรก็ดี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกันทางการเงินที่ดี เพราะยังขาดเงินสำรองฉุกเฉินในระดับที่เหมาะสม สำหรับด้านการวางแผนทางการเงิน กลุ่มตัวอย่างไม่เคยคิดเรื่องการวางแผนทางการเงินและไม่มีการวางแผนทางการเงินในระยะยาว ทั้งที่ทราบดีว่าการวางแผนการเงินจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ในอนาคตได้
The objectives of this research were to study the level of knowledge and understanding in the Sufficiency Economy Philosophy of people working in Bangkok area. This study is a quantitative research which used the questionnaire as the tool to collect the data from 420 working people, aged between 20 - 60 years. Data were analyzed with descriptive statistics, i.e., percentage, mean, and standard deviation. Moreover, inductive statistics of independent and dependent variations were used such as Pearson's correlation coefficient, t-test and One-way ANOVA. The results showed that most of respondents had a moderate level of knowledge and understanding in the sufficiency economy philosophy. The significant factors with relative to knowledge and understanding at the level of 0.05 were occupation, numbers of family member, and the amount of reserved money. For the application of the philosophy of sufficiency economy for their daily life, respondents were modest in the allocation of their income and rational to consider the necessity before spending. However, most of respondents did not have enough financial immunity because they did not have the appropriate amount of reserved money. For the financial planning, respondents had never thought about financial planning and long-term financial planning although they had known that financial planning will help them to achieve their future financial goals.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Advisor(s): อัจฉรา โยมสินธุ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3552
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
arisara_kerd.pdf6.84 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback