DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3532

Title: กลยุทธ์การผลิตเนื้อหาการตลาดบนเฟซบุ๊กแฟนเพจธุรกิจแนะแนวศึกษาต่อ สหราชอาณาจักรในเขตกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ
Other Titles: The content marketing strategy of UK education consultancies on facebook fan pages in Bangkok and its affects on the consumer decision making process
Authors: วรรณิศา สกุลเบญจโยธิน
Keywords: สถาบันแนะแนวศึกษาต่อสหราชอาณาจักร
เฟซบุ๊กแฟนเพจ
กลยุทธ์การผลิตเนื้อหา
รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การผลิตเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจของสถาบันแนะแนวศึกษาต่อสหราชอาณาจักร ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่สร้างการรับรู้และเป็นปัจจัยในการเลือกใช้บริการของผู้บริโภค โดยใช้เครื่องมือลงรหัสในการเก็บข้อมูลการผลิตเนื้อหารวมถึงรูปแบบการนำเสนอบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ และทำการวิจัยเชิงสำรวจกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ ผู้ที่สนใจศึกษาต่อสหราชอาณาจักร และผู้ที่ จบการศึกษาจากสหราชอาณาจักร โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18 - 35 ปี จำนวน 223 คน ซึ่งต้องเป็นผู้ติดตามเฟซบุ๊คแฟนเพจสถาบันแนะแนวศึกษาต่อ อย่างน้อย 2 เพจ จากกรณี ศึกษาทั้งหมด 3 เพจ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจมากที่สุด โดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาต่อ ในส่วนรูปแบบการนำเสนอข้อมูล รูปแบบเซตภาพได้รับความพึงพอใจมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่ารูปแบบภาษาที่เป็นกันเองเป็นที่ชื่นชอบมากกว่ารูปแบบภาษาที่เป็นทางการ ในขณะที่การใช้ผู้ที่มีชื่อเสียงนั้นเป็นประโยชน์ด้านการสร้างการรับรู้ แต่ไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของผู้บริโภค
The objective of this research was to study the content marketing strategy of UK education consultancies in Bangkok, by reviewing the types of content published on Facebook fan pages that would affect consumer satisfaction and purchase intention. Hence the research was carried out by collecting and analyzing Facebook posts with the use of a coding sheet. A close-ended survey from two sample groups: 1) People interested in studying in the UK and 2) People who have graduated from the UK, was also carried out. The data was then analyzed using descriptive statistics such as frequency, percentage and mean. The result of the study showed that respondents from both groups consider content on Facebook fan pages to be the most important, especially content regarding useful information about studying. Furthermore, the study showed that the majority of respondents responded best to photos sets in order of satisfaction. In addition, it was found that using casual language on Facebook fan pages was more pleasing compared to using formal styles of communication and that using influencers helped to increase brand awareness, but did not play a factor in the consumer decision making process.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Advisor(s): ชุติมา เกศดายุรัตน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3532
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
wannisa.saku.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback