DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/350

Title: ปัจจัยทางการตลาดผ่าน mobile marketing ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: เกวลิน ช่วยบำรุง
Keywords: ปัจจัยทางการตลาด
Mobile marketing
การตัดสินใจซื้อ
ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภค การได้รับ หรือเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากธุรกิจบริการต่างๆ รวมไปถึงความคิดเห็นที่มีต่อการตลาดผ่าน Mobile Marketing ตลอดจนผลกระทบของ Mobile Marketing กับการตัดสินใจซื้อสินค้า และธุรกิจบริการ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรที่เป็นกลุ่มประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับจาก Mobile Marketingโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกเป็น จานวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ ศึกษาคือแบบสอบถามที่ตัวอย่างได้กรอกแบบสอบถามด้วยตนเองมีค่าความเชื่อถือได้ร้อยละ 95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิงที่ใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษาคือ การสื่อสารการตลาดผ่าน Mobile Marketing ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์โดย ใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ หรือ Multiple Regressions ผู้บริโภคโดยรวมที่ได้รับการสื่อสารผ่าน Mobile Marketing ส่วนใหญ่ส่วนเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 18 – 25 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นนักศึกษา มีรายได้ส่วนตัว 10,000 – 20,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลาที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่า 6 ปี ใช้เครือข่าย AIS เป็นประจาในปัจจุบัน มีค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 501 – 1,000 บาทต่อเดือน ใช้ประเภทการชาระเงินแบบ Prepaid ระบบเติมเงิน เหตุผลที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อใช้โทรเข้า – รับสาย รูปแบบการสื่อสารการตลาดผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ได้รับใน 1 เดือนที่ผ่านมาเป็นข้อความสั้น (SMS) ผู้ตอบแบบสอบถามโดยรวมที่ได้รับข้อความสั้น (SMS) 1 – 5 ครั้งใน 1 เดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ได้รับมาจากธุรกิจและบริการประเภท เครือข่ายโทรศัพท์ และมีระดับความคิดเห็นที่ไม่แน่ใจต่อ SMS Marketing ผู้ตอบแบบสอบถามโดยรวมไม่เคยได้รับข้อความมัลติมีเดีย (MMS) ใน 1 เดือนที่ผ่านมาส่วนใหญ่ได้รับมาจากธุรกิจและบริการประเภท เครือข่ายโทรศัพท์ และมีระดับความคิดเห็นที่ไม่แน่ใจต่อ MMS Marketing ผลจากการทดสอบสมมติฐานพบว่าการสื่อสารการตลาดผ่าน SMS Marketing ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค และการสื่อสารการตลาดผ่าน MMS Marketing ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค จากผลการวิจัยสามารถนาไปเป็นแนวทางและข้อมูลเบื้องต้นให้ผู้ประกอบการของธุรกิจและบริการนาไปใช้ในการปรับปรุงในส่วนของรูปแบบ และข้อความในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ในนวัตกรรมรูปแบบใหม่ๆ เช่น QR Code และสื่อ Social Media ในโทรศัพท์ เคลื่อนที่ และยังสามารถพัฒนาฐานข้อมูลไปเป็นการวิจัยทางการตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ได้ต่อไป
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: การตลาดทางโทรศัพท์เคลื่อนที่--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริการส่งข้อความทางโทรศัพท์เคลื่อนที่--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริการส่งข้อความทางโทรศัพท์เคลื่อนที่--การศึกษาเฉพาะกรณี
การซื้อสินค้า--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การซื้อสินค้า--การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ศศิประภา ชัยประสิทธิ์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/350
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kaew_chua.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback