DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3363

Title: ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในไมอามี่ บาซาร์ บางปู
Other Titles: Relationship Between Marketing Mix and Behavior of Thai Tourists for Visiting the Miami Bazaar Bangpu
Authors: พงศวุฒิ ละอองพานิช
Keywords: ส่วนประสมทางการตลาด (7Ps)
พฤติกรรมการท่องเที่ยว
ศูนย์การค้าชุมชน
ไมอามี่ บาซาร์ บางปู
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในไมอามี่ บาซาร์ บางปู โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในไมอามี่ บาซาร์ บางปู เป็นจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไค-สแควร์ ผลของการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 21 - 30 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ย 15,001 - 30,000 บาทต่อเดือน เคยเดินทางมาท่องเที่ยวมากกว่า 4 ครั้ง มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อซื้อสินค้าและบริการ / ช้อปปิ้ง โดยพาหนะที่ใช้ในการเดินทางเป็นรถส่วนบุคคลและมอเตอร์ไซค์ มีผู้ร่วมเดินทางเป็นครอบครัว/ญาติ มีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 1,000 บาทหรือต่ำกว่า และมีแหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวมาจากตัวเอง ครอบครัว/ญาติ และคนรัก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ประเมินระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดของไมอามี่ บาซาร์ บางปูโดยรวมมีค่าเฉลี่ย = 3.399 และในรายด้าน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ 1) ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายค่าเฉลี่ย = 4.025 2) ด้านบุคลากรค่าเฉลี่ย = 3.610 3) ด้านราคาค่าเฉลี่ย = 3.441 4) ด้านผลิตภัณฑ์ค่าเฉลี่ย = 3.265 5) ด้านกระบวนการค่าเฉลี่ย = 3.257 6) ด้านการส่งเสริมทางการตลาดค่าเฉลี่ย = 3.155 และ 7) ด้านลักษณะทางกายภาพค่าเฉลี่ย = 3.042
The purpose of this research is to study relationship between marketing mix and behavior of Thai tourists for visiting the Miami bazaar bangpu. The sample in this research comprised 400 Thai tourists who visiting in the Miami bazaar bangpu. The instrument of the research was questionnaires and analyzed by statistical software in the form of Frequencies, Percentage, Mean, Standard deviation and hypotheses were tested by utilizing the Chi - square test. The result of this research was as follows: The majority of tourists were female, at the age between 21 - 30 years old, education level of bachelor’s degree, single, working as private organization employee with average income 15,001 - 30,000 Baht per month. They visited the Miami bazaar bangpu more than 4 times, the main purpose to purchase goods and services, vehicles used in the trip were personal cars and motorcycles, they come to the Miami bazaar bangpu with family/relatives, the average money spending per one visit is 1,000 Baht or less and then source of information about the Miami bazaar bangpu come from themselves, family/relatives and lovers. Most of the tourists evaluated the marketing mix (7Ps) in overall were (Mean = 3.399) and were respectively ranged in following 1) Place (Mean = 4.025) 2) People (Mean = 3.610) 3) Price (Mean = 3.441) 4) Product (Mean = 3.265) 5) Process (Mean = 3.257) 6) Promotion (Mean = 3.155) and 7) Physical (Mean = 3.042)
Description: การค้นคว้าอิสระ (ศศ.ม.) -- สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: ตลาดนัด
พฤติกรรมผู้บริโภค
การจัดการตลาด
การตลาด
สมุทรปราการ -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
Advisor(s): ภูเกริก บัวสอน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3363
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pongsawut_laon.pdf6.57 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback