DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3252
|
Title: | กลยุทธ์ Re-Targeting กับการตัดสินใจซื้อสินค้าของธุรกิจ SMEs ประเภทวัสดุ อุปกรณ์ และวัตถุดิบที่ใช้สำหรับการผลิตและแปรรูป (B2B) |
Other Titles: | Re-Targeting Strategy and E-Commerce Conversion of Equipments and Raw-Materials Provider SMEs (B2B) |
Authors: | กิตติชัย ปรีน้อย |
Keywords: | รีทาร์เก็ตติ้ง การตัดสินใจซื้อ SME (B2B) ธุรกิจด้านวัสดุอุปกรณ์ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | ธุรกิจพาญิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce) มีการเติบโต อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการหลายรายเริ่มใช้ช่องทางการขายด้านดิจิทัล เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากได้รับการยอมรับและเชื่อถือมากขึ้นจากผู้บริโภค แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) อีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังไม่ ค่อยมีความเข้าใจการใช้เครื่องมือ ต่างๆ ทางด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล Digital Marketing Communication โดยเฉพาะกลุ่ม ธุรกิจ SMEs ที่ขายสินค้าในรูปแบบ B2B (Business to Business) ที่มีตลาดจำกัดเฉพาะ
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกเว็บไซต์ www.nexttechscreen.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ในกลุ่ม ธุรกิจ SMEs ที่ขายสินค้าในรูปแบบ B2B โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาด ดิจิทัลของธุรกิจ SMEs ที่ขายสินค้าประเภทวัสดุ อุปกรณ์และวัตถุดิบที่ใช้สำหรับการผลิตและแปรรูป (B2B) และเพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของการใช้ โฆษณาแบบ Re-Targeting บน Facebook เพื่อปิดการ ขายผ่านทางเว็บไซต์ E-Commerce ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีการดำเนินการวิจัยหรือกระบวนวิธีการ วิจัย (Methodology) โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ที่เน้นการศึกษาด้วยการปฏิบัติจริง ทดลองจริง ได้ข้อมูลของกิจการ ที่ทำการศึกษา โดยใช้การวิเคราะห์ผลจากการโฆษณาจริงผ่านเครื่องมือ Facebook Product Catalog Re-Targeting ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม 2560
การวิจัยนี้ผู้วิจัยต้องการการศึกษาเป็นแนวทางและทำให้เกิด การเพิ่มศักยภาพในการใช้ กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดดิจิทัล ส่งผลทำให้ธุรกิจ SMEs ที่ขายสินค้า ในรูปแบบ B2B ที่กำลัง เริ่มต้นหรือกำลังดำเนินการ สามารถทำการสื่อสารการตลาดดิจิทัลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิผล Electronic Commerce: E-Commerce had been growing continuously. For many years, many entrepreneurs started to use the digital selling channel more and more because it was accepted and trusted more from consumers but there were a large amount of SMEs operators who still did not understand how to use various tools in Digital Marketing Communication especially the SMEs group selling in the form of B2B (Business to Business) with specific market.
The researcher chose the website www.nexttechscreen.com which was the website in the SMEs (B2B) business group with the objective to study the digital marketing communication of SMEs selling the goods in the type of material, equipment and objective used for producing and processing and to study the efficiency of using the advertising of Re-Targeting on Facebook to close a sale deal via E-Commerce which the researchers used methodology by Qualitative Research passing the Research & Development focusing on the study by hands-on operation, test. The data of the studied business was from analysis of actual advertising via the tools Facebook Product Catalog Re-Targeting during May to December, 2017.
The researcher needed to study the lesson from the research in order to be the guideline and to increase the potential in using potential of digital marketing communication so that SMEs business selling goods in the form of B2B that were starting or operating could conduct digital marketing correctly and efficiently. |
Description: | การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560 |
Subjects: | เครือข่ายสังคมออนไลน์ในธุรกิจ ธุรกิจขนาดย่อม -- การจัดการ การจัดการธุรกิจ สินค้า -- การตัดสินใจ การตัดสินใจ สินค้า -- การจัดซื้อ |
Advisor(s): | ปฐมา สตะเวทิน |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3252 |
Appears in Collections: | Independent Studies Independent Studies - Master
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|