DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/321

Title: พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแชมพูสระผม "แพนทีน โปร-วี" ในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: กัลยรัตน์ โตสุขศรี
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค
แชมพู
ยาสระผม
แพนทีน
การตัดสินใจซื้อ
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมและปัจจัยที่มี ผลต่อการตัดสินใจซื้อ แชมพูสระผม “แพนทีน โปร-วี ” ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบภามจากกลุ่มตัวอย่างที่ ใช้วิจัยครั้งนี้ทั้งหมด 400 คน พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 40.3 เพศชาย โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 38.5 ซึ่งมีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 64.3 มีขนาด ครอบครัว 3-4 คน คิดเป็นร้อยละ 45.5 ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 31.0 โดยมีการศึกษา อยู่ระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 60 มีรายได้ส่วนใหญ่ 5,001-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 24.0ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการเลือกซื้อใช้แชมพูแพนทีน โปร-วี ผู้บริโภค ส่วนใหญ่เลือกใช้ แชมพูแพนทีนสูตรโปร-วี สมูท แอนด์ ซิลกี้ คิดเป็นร้อยละ 26.3 ซึ่งผลทดสอบ ทางสถิติพบว่า เพศ อายุ ขนาดของครอบครัว และรายได้ต่อเดือนที่ต่างกันเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แชมพู แพนทีนแตกต่างกัน ส่วนใหญ่เลือกใช้ แพนทีน โปร-วี เพราะ คุณภาพดีมั่นใจในคุณภาพ คิดเป็น ร้อยละ 37.3 ซึ่งผลทดสอบทางสถิติพบว่า เพศ ที่ต่างกันมีผลต่อเหตุผลที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์แชมพู แพนทีนแตกต่างกัน ผู้บริโภคส่วนใหญ่ สระผม 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งผลทดสอบทางสถิติพบว่า เพศ ต่างกันจำนวนครั้งที่สระผมต่อสัปดาห์แตกต่างกัน ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้อ แพนทีน โปร-วี ขนาด 400 มล. คิดเป็นร้อยละ 36.3 ซึ่งผลทดสอบทางสถิติพบว่า ระดับการศึกษา และ ขนาด ครอบครัว ต่างกันขนาดในการเลือกซื้อ แตกต่างกัน ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้อ แพนทีน โปร-วี จำนวน 1 ครั้ง/เดือน คิดเป็นร้อยละ 37.0 ซึ่งผลทดสอบทางสถิติพบว่า ระดับการศึกษา สถานภาพ ครอบครัว ขนาดครอบครัว และ รายได้ต่อเดือนต่างกันความถี่ในการเลือกซื้อแตกต่างกัน บุคคลที่มี ผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่คือ ตัวผู้บริโภคเอง คิดเป็นร้อยละ 56.3 ซึ่งผลทดสอบ ทางสถิติพบว่า เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพครอบครัวต่างกันบุคคลที่ มีผลต่อการตัดสินใจ แตกต่างกัน สถานที่การเลือกซื้อของผู้บริโภค ส่วนใหญ่คือ Modern Trade คิดเป็นร้อยละ 32.5 ซึ่ง ผลทดสอบทางสถิติพบว่า ระดับการศึกษา ขนาดครอบครัว รายได้ต่อเดือน ต่างกันมีผลต่อสถานที่ ที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน สื่อที่ผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ส่วนใหญ่คือ โทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 79.3 ซึ่งผลทดสอบทางสถิติพบว่า สถานภาพครอบครัว ต่างกันสื่อที่มีผลต่อการ ตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ แตกต่างกัน สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจากการส่งเสริมการขาย ส่วนใหญ่ คือ ลดราคา คิดเป็นร้อยละ 51.0 ซึ่งผลทดสอบทางสถิติพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ ครอบครัว ขนาดครอบครัว อาชีพ รายได้ต่อเดือนต่างกันการส่งเสริมการขายที่ต้องการไม่ แตกต่าง กัน ดังนั้นผลการศึกษาจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้ง จากการศึกษาส่วนใหญ่พบว่าผู้บริโภคโดยรวมให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนผสมการตลาด มีค่าเฉลี่ยระดับมาก เรียงลำดับคือ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้าน ผลิตภัณฑ์ และ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคให้ความสำคัญ ด้าน คุณภาพของแชมพูสระผม เป็นอันดับ 1 ปัจจัยด้านราคาผู้บริโภคให้ความสำคัญ เรื่องราคาต่อขวด เป็นอันดับ 1 ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายผู้บริโภคให้ความสำคัญ ด้าน การซื้อได้สะดวก เป็น อันดับ 1 ผู้บริโภคให้ความสำคัญปัจจัยด้านการส่งเสริมการขายด้านการลดราคา เป็นอันดับ 1
Description: การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: พฤติกรรมผู้บริโภค--การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--การศึกษาเฉพาะกรณี
แชมพู--ไทย--กรุงเทพฯ--การจัดซื้อ--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): เพลินทิพย์ โกเมศโสภา
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/321
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kanyarat_toso.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback