DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3155

Title: ภาพลักษณ์ผู้สื่อข่าวที่ถูกสะท้อนบทบาทผ่านภาพยนตร์ไทย ปี 2560
Other Titles: The image of the reporter was reflected in the Thai film in 2018
Authors: ทัศนัย โคตรทอง
Keywords: ภาพลักษณ์
ผู้สื่อข่าว
ภาพยนตร์ไทย
บทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของผู้สื่อข่าวที่ถูกนำมาสะท้อนบทบาทผ่านภาพยนตร์ไทย และศึกษาการเล่าเรื่องภาพยนตร์ไทยที่มีบทบาทของผู้สื่อข่าวอยู่ในเนื้อเรื่องที่ปรากฏออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน โดยแบ่งช่วงของการศึกษาออกเป็น 2 ช่วง คือ ตั้งแต่เกิดการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่เดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 2553 ถึงปี พ.ศ. 2556 เป็นช่วงก่อนการเข้ามาบริหารประ เทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และ ช่วงปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ. 2560 เป็นช่วงหลังการเข้ามาบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. โดยคัดเลือกภาพยนตร์ไทยกลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษาได้ทั้งหมด 6 เรื่อง นำมาศึกษาด้วยการดูภาพยนตร์ทั้งหมดทีละเรื่อง และทำการวิเคราะห์ตามแนวคิดและทฤษฎีการเล่าเรื่องร่วมกับแนวคิดภาพลักษณ์บทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชน และการสร้างความหมายทางสังคม พบว่า ภาพลักษณ์ของผู้สื่อข่าวในช่วงก่อน คสช.เข้ามาบริหารประเทศเป็นภาพลักษณ์ที่มีความน่าเชื่อถือ มีบทบาทหน้าที่เสนอข้อมูลตามข้อเท็จจริงในสังคมและเสนอความคิดเห็นของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ไม่เกรงกลัวต่ออำนาจหรืออิทธิพลใด ๆ และช่วงหลังการเข้ามาบริหารประเทศของ คสช. พบว่าภาพลักษณ์ของผู้สื่อข่าวเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบที่ถูกจำลองหรือสร้างขึ้นมา เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างโดยยังจำเป็นที่ต้องมีความน่าเชื่อถืออยู่บ้าง แต่บทบาทหน้าที่ถูกลดทอนลงเหลือเพียงผู้ ให้ความบันเทิงเท่านั้น ต้องทำหน้าที่ไปตามกระแสสังคมและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ให้ความสำคัญกับสังคมในโซเชียลมีเดียมากขึ้นและทุกคนสามารถเป็นผู้สื่อข่าวได้ ทำให้บุคคลในอาชีพผู้สื่อข่าว และวงการสื่อสารมวลชนต้องปรับตัวให้สอด คล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
The adjectives of this study were to study the image of the reporter was reflected on the Thai film and to study narrative of Journalists in Thai films. This study would be divided into two periods (1) Before entered National Peace and Order Maintaining Council (Since the political rally in May 2010 to 2013); (2) After entered National Peace and Order Maintaining Council (From 2014 to 2017). This studied selected 6 movies which would analyze based on concept and theory of narrative, theory of image, theory of Role and function of the mass media, and theory of Creating a social meaning. The research results composed two realms. Firstly, before entered National Peace and Order Maintaining Council, the image of the reporter was the image which Had integrity and responsibility to spread real social information to the public, and not fear any rights and influence to express their own ideas. Secondly, after entered National Peace and Order Maintaining Council, the image of the reporter was changed into a model that has been modeled or created for some purpose, although it also had a part of authenticity, most had been reduced to only entertainment and Changes in social trends and consumer behavior had important implications for social media societies. Everyone can become a journalist, which means that traditional journalists and the media industry must adapt to a changing society.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Advisor(s): องอาจ สิงห์ลำพอง
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3155
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
thasana_.khot.pdf4.76 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback